Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10224
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัฒนะ มธุราสัย-
dc.contributor.authorปิยะธิดา จิตตานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-17T10:51:11Z-
dc.date.available2009-08-17T10:51:11Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746376837-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10224-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาเปรียบเทียบค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเกตโลหะต่อผิวพอร์ซเลน มีการประดิษฐ์เครื่องมือซึ่งกำหนดค่าแรงที่ใช้ในการติดเบรกเกตได้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการวิจัยและการทำงานในคลินิก ความรู้ที่ได้เป็นแนวทางสำหรับทันตแพทย์ในการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมในการเตรียมผิวพอร์ซเลนได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างเป็นชิ้นพอร์ซเลน 126 ชิ้น ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ชิ้น นำมาเตรียมผิวด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้กรดฟอสฟอริกร่วมกับไซเลนไพรเมอร์, การกรอ, การกรอร่วมกับใช้ไซเลนไพรเมอร์, การกรอร่วมกับการใช้กรดฟอสฟอริกและไซเลนไพรเมอร์ ในที่นี้ใช้หัวกรอหินสีเขียว ในการกรอและไซเลนไพรเมอร์ที่ใช้ คือ Ormco Porcelain Bonding Primer จากนั้นใช้วัสดุยึด System 1+ ติดแบรกเกตโลหะบนผิวพอร์ซเลน นำไปวัดค่าแรงยึดแบบเฉือน/ปอกด้วยเครื่องทดสอบทั่วไป แล้วทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอก โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว (One way ANOVA ที่ p<0.05) และถ้าผลของการวิเคราะห์มีความแตกต่างกัน จะทดสอบความแตกต่างของแต่ละคู่ด้วยสถิติ Scheffe's test สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบใช้แบรกเกตโลหะติดบนผิวเคลือบฟันด้านใกล้แก้มของฟันกรามน้อย 30 ซี่ นำไปวัดค่าแรงยึดแบบเฉือน/ปอกด้วยวิธีเดียวกัน พอร์ซเลน 6 ชิ้นที่เหลือ ใช้ชิ้นที่ไม่กรอและชิ้นที่ผ่านการกรอ อย่างละ 1 ชิ้น สำหรับศึกษาสภาพผิวและอีก 4 ชิ้น นำไปเตรียมผิวด้วยวิธีต่างๆ 4 วิธี ติดวัสดุยึดบนพอร์ซเลน เพื่อศึกษารอยต่อระหว่างวัสดุยึดและพอร์ซเลน จากนั้นนำชิ้นงานทั้งหมดไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ผลการวิจัยสรุปว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของ แบรกเกตโลหะต่อผิวพอร์ซเลน ซึ่งผ่านการเตรียมผิว 4 วิธี ทั้งนี้การเตรียมผิวพอร์ซเลนโดยการใช้กรดฟอสฟอริกร่วมกับไซเลนไพรเมอร์ ให้ค่ากำลังแรงยึดสูงกว่าวิธีอื่นๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThis research was purposed to compare the shear/peel bond strengths of metal bracket bonded to porcelain. The bracket loading guage which had been invented for this research can limit force to bond bracket and can be widely used in both research and clinical work. The knowledge from this study would be beneficial to the selection of an appropriate surface preparation method which would be safe and most efficient. By specific sampling, 126 samples of bicuspid-contoured porcelain specimens had been selected and divided into 4 groups, 30 specimens each. The surfaces of each group were prepared with 4 types of porcelain surface preparation (phosphoric acid+silane primer, grinding, grinding+silane primer, grinding+phosphoric acid+ silane primer) before attaching a bicuspid metal bracket on the procelain. Greenstone was used for grinding and Ormco porcelain bonding primer was used as silane primer. Then the metal bracket was bonded onto the prepared porcelain with system 1+. The universal testing machine was used to measure shear/peel force (N) of the samples. The shear/peel force values were calculated and converted to N/mm2 units. A comparison between the means of shear/peel strengths was statistically analyzed using One way ANOVA (p<0.05) and Scheffe's multiple range test. The standard value of shear/peel bond strengths of system 1+was measured by bonding metal brackes on the upper bicuspid teeth and calculated for its mean. A scanning electron microscope was used to reveal the morphological difference of specimen surfaces between glazed and grinding procelain. The junction between adhesive and porcelain was studied by using 4 methods of surface preparation and attaching system 1+ on the specimens. There was a significant statistical difference (p<0.05) in the shear/peel bond strengths of each surface preparation method. In this case, the use of phosphoric acid and silane primer displays a significantly greater bond strength than other methods.en
dc.format.extent959601 bytes-
dc.format.extent904750 bytes-
dc.format.extent1843624 bytes-
dc.format.extent1398113 bytes-
dc.format.extent1097128 bytes-
dc.format.extent949763 bytes-
dc.format.extent966337 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen
dc.subjectพอร์ซเลนทางทันตกรรมen
dc.subjectแรงเฉือน (กลศาสตร์)en
dc.subjectแบรกเก็ตเซรามิกen
dc.titleการเปรียบเทียบกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเกตโลหะต่อผิวพอร์ซเลนen
dc.title.alternativeComparison in shear/peel bond strength of metal bracket bonded to porcelainen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมจัดฟันes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyathida_Ch_front.pdf937.11 kBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_ch1.pdf883.54 kBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_ch2.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_ch5.pdf927.5 kBAdobe PDFView/Open
Piyathida_Ch_back.pdf943.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.