Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1051
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนวดี บุญลือ-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ โสภณเสถียร, 2508--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2006-07-24T12:36:28Z-
dc.date.available2006-07-24T12:36:28Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741738234-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1051-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุด ในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับภาพลักษณ์ และระหว่างความรู้กับภาพลักษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลการแจกแจงความถี่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-Way ANOVA t-test และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดอยู่ในระดับต่ำ 2. ความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในเกณฑ์ต่ำ 3. ภาพลักษณ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวม มีภาพลักษณ์เป็นกลางๆ 4. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีสถานภาพสมรส รายได้ และการมีญาติพี่น้องทำงานใน กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุดแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดแตกต่างกันโดยคนโสด, ผู้มีรายได้ 5,000-10,000 บาท, และผู้ที่มีญาติทำงานในกองทัพ มีการเปิดรับมากกว่ากลุ่มอื่นๆ 5. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มี อายุ อาชีพ และการมีญาติพี่น้องเป็นทหารแตกต่างกัน มีระดับความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดแตกต่างกัน โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 51-60 ปี มีความรู้มากกว่าผู้ที่มีอายุ 21 30 ปี, ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างมีความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติทำงานในกองบัญชาการทหารสูงสุด และผู้ที่มีญาติทำงานในอีก 3 เหล่าทัพที่เหลือ 6. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุแตกต่างกันจะมีภาพลักษณ์เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดแตกต่างกัน โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 61 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยภาพลักษณ์เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุด สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ 4 กลุ่ม 7. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุด กับความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุดของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กัน 8. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุด กับภาพลักษณ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กัน 9. ความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการทหารสูงสุด กับภาพลักษณ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กัน 10. ภาพลักษณ์ในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมนั้น กองทัพเรือมีภาพลักษณ์ดีที่สุด รองลงมาคือกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด และกองทัพอากาศตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the relationship among media exposure, knowledge and the image of the Supreme Command Headquarters as perceived by Bangkok residents. A total of 400 Bangkok residents are selected using multistage random by sampling technique. Percentage, mean, t-test and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were employed for the analysis of the data. SPSS for Windows program was use for data processing. Findings: 1. People's exposure to the Supreme Command Headquarters information is low. 2. People's knowledge of the Supreme Command Headquarters is considered minimal. 3. People's image of the Supreme Command Headquarters is neutral. 4. People with different marital status and income are different in exposure to information about the Supreme Command Headquarters that is people who are single, and earn monthly income between baht. 500-10,000 and who have relatives working in the Royal Thai armed forces are exposed to information about the Supreme Command Headquarters morethan those in other groups. 5. People with different age, occupation, and having relatives serving in Thai Armed force have different knowledge level. That is people aged 51-60 years have more knowledge about the Supreme Command Headquarters than people in 21-30 age group Hiring employees have highest knowledge about the Supreme Command Headquarters People who have relatives serving in the army have more knowledge than those who have no relatives working in the Army. 6. People with different ages have different image of the Supreme Command Headquarters. People aged 60 years and over possess better image of the Supreme Command Headquarters than those in the other four groups. 7. Information exposure on the Supreme Command Headquarters is significantly related to knowledge about the Supreme Command Headquarters. 8. Information exposure on the Supreme Command Headquarters is significantly related to people's image on the Supreme Command Headquarters. 9. Knowledge about Supreme Command Headquarters and image ofSupreme Command Headquarters is significantly correlated. 10. The Supreme Command Headquarters's image ranked third when compared to the other 3 Thai Armed Forces.en
dc.format.extent18661556 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1278-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกองบัญชาการทหารสูงสุดen
dc.subjectภาพลักษณ์องค์การ--ไทยen
dc.subjectการเปิดรับข่าวสารen
dc.titleการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeImage of the Supreme Command Headquarters as perceived by Bangkok residentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1278-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttawutdi.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.