Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10561
Title: การจัดเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Other Titles: The preparation of housing for airport of Thailand public company limited's staff : a case study of Suwanapoom Airport
Authors: ชยวีร์ คีตวรนาฏ
Advisors: มานพ พงศทัต
บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Banasopit.M@Chula.ac.th
Subjects: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยาน
พนักงานบริษัท -- ที่อยู่อาศัย
เคหะ
ที่อยู่อาศัย
สวัสดิการลูกจ้าง
พนักงานท่าอากาศยาน -- ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปิดให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี พ.ศ.2547 มีความจำเป็นต้องโอนย้ายบุคลากรเดิมจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญงานเป็นพิเศษ เพื่อสามารถให้บริการท่าอากาศยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการย้ายที่ทำงานในครั้งนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของพนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องของที่อยู่อาศัยและการเดินทาง การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นอยู่ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบัน และสวัสดิการที่คาดหวังว่าจะได้รับ รวมถึงทัศนคติด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทาง ต่อการย้ายที่ตั้งท่าอากาศยาน ของพนักงานการท่าอากาศยานดอนเมือง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ การวิจัยในครั้งนี้ใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และจากจำนวนของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา สามารถคำนวณค่าความเชื่อมั่นได้ที่ 97% ผลการศึกษาพบว่า พนักงานของท่าอากาศยานดอนเมือง มีอายุเฉลี่ย 41 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว พนักงานร้อยละ 60 มีระดับเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท พนักงานร้อยละ 70 มีอายุงานเกินกว่า 9 ปี ในด้านของที่อยู่อาศัยและการเดินทาง พบว่า พนักงานอยู่ในที่อยู่อาศัยปัจจุบันมาเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย 15 ปี โดยที่ครึ่งหนึ่งเป็นเจ้าของเอง และอีกร้อยละ 31 อาศัยอยู่บ้านของพ่อแม่ พนักงานส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีภาระต้องจ่ายค่าที่อยู่อาศัยเอง พนักงานร้อยละ 66 เดินทางมาทำงานด้วยรถส่วนตัว ส่วนที่เหลือ เดินทางด้วยรถประจำทางและรถรับ-ส่งสวัสดิการ ในเรื่องสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทางที่พนักงานได้รับในปัจจุบัน พบว่า พนักงานร้อยละ 67 ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆเลย การกระจายของสวัสดิการไม่สัมพันธ์กับระดับเงินเดือน โดยผู้ที่มีรายได้น้อยไม่ได้รับสิทธิ์ที่จะได้รับสวัสดิการเป็นพิเศษ สวัสดิการที่พนักงานต้องการให้มีเพิ่มเติมในปัจจุบัน คือ เงินช่วยเหลือค่าเดินทางหรือน้ำมันรถ การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ซื้อในราคาต่ำ และรถรับ-ส่งสวัสดิการ สำหรับทัศนคติด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทางที่พนักงานมีต่อการย้ายท่าอากาศยาน พบว่า พนักงานร้อยละ 57 ไม่คิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย โดยแนวโน้มการคิดย้ายที่อยู่อาศัยจะน้อยลงในกลุ่มของ ผู้ที่มีรายได้สูง อายุมาก สมรสแล้ว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเอง อยู่ในที่อยู่ปัจจุบันมานานกว่า 10 ปี และเดินทางไปทำงานด้วยรถส่วนตัว สำหรับผู้ที่คิดจะออกจากงาน เมื่อจะต้องย้ายไปทำงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีร้อยละ 2.3 เหตุผลสำคัญในอันดับแรก สำหรับผู้ที่จะไม่ย้ายที่อยู่อาศัย คือ ไม่อยากแยกกันอยู่กับครอบครัว ส่วนเหตุผลสำหรับผู้ที่จะย้ายที่อยู่อาศัย คือ ที่อยู่อาศัยเดิมอยู่ไกลจากที่ทำงาน นอกจากนั้น ยังพบว่ากลุ่มที่เช่าที่อยู่อาศัย จะให้ความสำคัญกับเหตุผลของการย้ายทุกๆ ข้อ ในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มที่ครอบครองในลักษณะอื่น ในส่วนของสวัสดิการ ที่ทั้งผู้ที่จะย้าย และไม่ย้ายที่อยู่อาศัยต้องการให้มี พบว่า การที่จะต้องย้ายไปทำงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต้องการในประเภทของสวัสดิการ แต่ทำให้จำนวนของผู้ที่ต้องการสวัสดิการเพิ่มเติม มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
Other Abstract: In the opening of Suwanapoom Airport in the year 2004, It will be necessary to transfer some of the staff, especially those who are experienced in order to provide sufficient service. This workplace relocation will therefore affect the staff's way of living especially housing and commuting. The purpose of this research is to study living, economic and social circumstances, and the welfare which the staff are currently entitled to and expect in the future. It also includes the attitude of Donmuang Airport's staff, particularly the ones with experience and special skill, towards housing and commuting as a consequence of the relocation of airport. The Questionnaire is used as a tool in this research. From the number of returned responses confidence value of 97% can be calculated. From the study, the average age of Donmuang Airport's staff is 41 years old and mostly married; 60% of them have salaries not exceeding Baht 30,000; and 70% of them have more than 9 years' service. As for housing and commuting, it is found that the staff have lived in the current houses for 15 years on average above half of them hold the house ownership while 31% have lived in their parents' house. Most of the staff (83%) are liable to pay for their housing. 66% of the staff come to the workplace by private cars while the other rest come by buses and/or by the companyʼs shuttle bus service. As for housing and commuting welfare which the staff are currently entitled to, it is found out that 67% of the staff have received no welfare in this regard. This is because the welfare distribution is not relative to the individual salary levels, that is the low-income staff are not entitled to the special welfare. The additional welfare which the staff are now demanding include the aid for commuting or petrol expenses, the provision of housing for the staff to buy at low cost, and the shuttle bus service. With regard to the staff's attitude towards the housing and commuting as a consequence of the relocation of airport, it is found out that 57% of the staff don't consider moving house. They are mostly senior, married, high-income staff who have owned the current houses for over 10 years and commute to-and-from the workplace by private cars, therefore the chance of moving is slim, while there are 2.3% of the staff who plan to quit upon the relocation of workplace to Suwanapoom Airport. The first main reason of the staff who don't consider moving house is that they do not want to live separately from their families, whereas the staff whose houses are far from Donmuang Airport are willing to move. In addition, it is found that the staff residing in rented houses will attach greater significance to every single reason of moving than the staff possessing houses in other, different types. Regarding the welfare as demanded by the staff of both groups (house-moving wanted and unwanted), it is found that the relocation of workplace to Suwanapoom Airport does not cause the staff changing demands for new type of welfare, but merely increases the number of staff who want the additional welfares.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10561
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.365
ISBN: 9741718284
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.365
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayavee.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.