Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10585
Title: | อิทธิพลของการใช้ความกลัวในภาพยนตร์โฆษณาต่อต้านโรคเอดส์ต่อกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง |
Other Titles: | The influences of fear appeal in AIDS campaign's TVC on on high risk targets |
Authors: | วีนัส เจิดจรรยาพงศ์ |
Advisors: | พนา ทองมีอาคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pana.T@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร โรคเอดส์ในสื่อมวลชน จิตวิทยาสังคม ความกลัว โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม โรคเอดส์ -- การประชาสัมพันธ์ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้ความกลัวในระดับต่างกัน ในภาพยนตร์โฆษณาต่อต้านโรคเอดส์ ต่อกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง ซึ่งทำการวิจัยด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชายนักเที่ยว กลุ่มหญิงอาชีพพิเศษ และกลุ่มชายรักร่วมเพศ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเอดส์ 3 ท่าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเพิ่มเติมให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการศึกษาในครั้งนี้ เมื่อนำข้อมูลจากการสนทนากลุ่มมาทำการวิเคราะห์พบว่า ระดับความน่ากลัวในภาพยนตร์โฆษณาต่อต้านโรคเอดส์ที่แตกต่างกัน จะมีอิทธิพลต่อผู้รับสารให้เกิดความกลัวโรคเอดส์แตกต่างกัน โดยความกลัวที่มีระดับแตกต่างกันนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าจะสอดคล้องกับประสิทธิภาพของสื่อในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ลงได้ต่างกันคือ สื่อที่ใช้ระดับความน่ากลัวสูงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าสื่อที่ใช้ความน่ากลัวระดับปานกลางและต่ำ แม้ว่าจะไม่สามารถหยุดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศของกลุ่มตัวอย่างได้ แต่ก็มีแนวโน้มทำให้เกิดพฤติกรรมป้องกันเพิ่มมากขึ้น และนอกจากนั้นแล้ว ผลการวิจัยยังพบว่าผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มโดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้ความน่ากลัวมานำเสนอในงานรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ แต่ความน่ากลัวที่นำมาใช้ในที่นี้ ควรเป็นความกลัวที่ใช้ข้อเท็จจริงเรื่องโรคเอดส์ ข้อมูลทางวิชาการ หรือการใช้อารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ภาพประกอบที่แสดงถึงความน่ากลัวของโรคซึ่งต่างจากข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเอดส์ที่เห็นว่า การใช้ความน่ากลัวในสื่อเอดส์จะมีผลเสียมากกว่าผลดี ผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ก็เห็นว่าสื่อเอดส์ที่มีความน่ากลัวระดับต่ำน่าจะเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มตัวอย่างยังเสนอแนะให้ใช้ความเอื้ออาทรในงานสื่อเอดส์อนาคตเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเป็นที่ยอมรับและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขด้วย |
Other Abstract: | The objective of the study was to study the influences of different level of fear appeal in AIDS campaign's TVC on high-risk targets. The methods used in the study were focus group interview conducted on three high-risk groups, and in-depth interview conducted on three experts on AIDS campaign. Three high-risk groups in the focus group interview were; gay men, prostitutes, and men frequent with brothel. Results of the study are: the different extent of fear appeal in AIDS campaign's TVC inflicted different level of fear of HIV infection among high-risk participants; the fear level seems to affects the effectiveness of TVC in reducing the number of HIV infection; high fear appeal appears to be more effective than moderate and low fear appeal. There are other findings in the study. It is apparent that TVC cannot stop promiscuous, however, it tends to increase protection behavior. Most of those attended the focus groups agree to the use of fear appeal in AIDS campaigns, provided that it based on facts, knowledge, or presenter's emotional appeal, not objectionable or unsightly picture of HIV patients. On the contrary, the experts disagree with the use of fear appeal for they afraid of other repercussions. The HIV patients might be discriminated against, and bared from normal social life. However, the experts do believe that low level of fear appeal in AIDS campaign could be effective. Advice from the focus groups is that future campaign should use positive and favorable style TVC. So the HIV infection will be accepted and live as a normal person in the society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การโฆษณา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10585 |
ISBN: | 9743317538 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Venus_Ch_front.pdf | 762.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_ch1.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_ch2.pdf | 817.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_ch3.pdf | 831.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_ch4.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_ch5.pdf | 820.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Venus_Ch_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.