Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10604
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริชัย ศิริกายะ | - |
dc.contributor.advisor | พีระ จิรโสภณ | - |
dc.contributor.author | ธีรารัตน์ พันทวี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-27T10:34:31Z | - |
dc.date.available | 2009-08-27T10:34:31Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740312438 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10604 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | สร้างมาตรฐานและเครื่องมือประเมินมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียงไทย ที่ผ่านการทดสอบและได้รับการยอมรับจาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาด้วยเทคนิควิธีการเชิงคุณภาพ โดยอาศัยแนวคิดด้านมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ ทฤษฎีระบบ แนวคิดการบริหารจัดการองค์กร แนวคิดหลักการตลาด จรรยาบรรณนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระบบและโครงสร้างสื่อมวลชน และแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถทางการสื่อสารและความเป็นนักวิชาชีพ มาเป็นกรอบในการศึกษาเพื่อสร้างมาตรฐาน และเครื่องมือประเมินมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียงไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลที่ได้ หรือผลที่เกิดขึ้น โดยอาศัยกรอบทั้งด้านกฎหมาย กฎระเบียบ จรรยาบรรณนักวิชาชีพ มาตรฐานสากล และนำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้ง 4 กลุ่ม อันได้แก่ นักวิชาชีพ ผู้ฟัง ผู้ควบคุมกฎระเบียบ และผู้สนับสนุนรายการ ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เครื่องมือประเมินมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียง 4 ประเภท ได้แก่ สถานีเพลง สถานีข่าวและความรู้ สถานีเพื่อสาธารณะและสถานีแบบผสม ซึ่งผ่านการตรวจสอบการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุกระจายเสียง และผ่านการทดสอบการใช้งานจริงแล้ว สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ในเบื้องแรก โดยพบว่าการพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียงไทย จำเป็นต้องอาศัยการสร้างมาตรฐานในองค์ประกอบส่วนย่อยของระบบ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยกระบวนการ และปัจจัยผลที่ได้/ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน นอกจากนั้นยังพบว่า มาตรฐานและตัวชี้วัดมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียง มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามเนื้อหาและขนาด ของสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทต่างๆ ในประเทศไทยด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | To create the standards and standardized tools for assessing the overall operational performance of Thai radio broadcasting stations that have been tested and accepted by the people involved in radio broadcasting administration. This is basically a qualitative research, using concepts from various disciplines, namely, standardization and quality assurance system, system theory, organizational management, marketing theory, mass communication professional code of ethics, mass media system and structure, including the concepts relating to communicative competence and professionalism. All this provide the framework of study in creating the standards and tools for assessing the entire system of operational performance of Thai radio broadcasting stations, ranging from the input, the process, and the output or outcome. Included in this study is the application of such frameworks as the laws, regulations, professional code of ethics as well as international standards. The data are then assimilated with information obtained from depth interviews with four groups of people involved in radio broadcasting administration, i.e. the professionals, the target audience, the regulators, and the sponsors. At the completion of this study, the researcher obtains standardized tools for assessing the operational performance of four types of radio stations, namely, news station, music station, public station and hybrid station. The tools have been thoroughly tested in simulated situation and accepted by those involved in radio broadcasting administration. This finding, which correlates with the research hypothesis proposed earlier, states that in order to improve the standards of Thai radio broadcasting stations, it is essential to optimize the operational performance of the system, i.e. the input, the process, the output/outcome. Besides, it is also found that the standardized tools and key performance indicators of radio broadcasting stations vary according to the types and sizes of radio broadcasting stations in Thailand. | en |
dc.format.extent | 7476772 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.415 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถานีวิทยุ -- มาตรฐาน -- ไทย | en |
dc.subject | สถานีวิทยุ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en |
dc.title | การสร้างมาตรฐานสถานีวิทยุกระจายเสียงไทย | en |
dc.title.alternative | Thai radio broadcasting station standardization | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Pira.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.415 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerarat.pdf | 7.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.