Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10648
Title: การตอบรับคำขอโทษในภาษาไทย
Other Titles: Responding to apologies in Thai
Authors: ภาสพงศ์ ผิวพอใช้
Advisors: อิงอร สุพันธุ์วณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Ing-orn.S@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
การขอโทษ
การพูด
วัจนกรรม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีแสดงวัจนกรรมการตอบรับคำขอโทษในภาษาไทยและความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีดังกล่าวกับน้ำหนักความผิด ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากแบบสอบถามชนิดเติมเต็มบทสนทนา (DCT) กลุ่มตัวอย่างที่เลือกเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๐ คน ได้แบบสอบถามคืนกลับมาในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น ๑๖๔ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๘๒ ของแบบสอบถามที่แจกไปทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีการตอบรับคำขอโทษมีหลายกลวิธี กลวิธีเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ กลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางบวก และกลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางลบ ในกลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางบวก จะสามารถแบ่งออกเป็นกลวิธีย่อย ๆ ได้อีก ๖ กลวิธีคือ การเอ่ยถ้อยคำเชิงไม่ถือโทษ การปลอบใจ การหยอกล้อ การกล่าวโทษสิ่งอื่นหรือตัวเอง การเอ่ยขอโทษกลับ การกล่าวชม ในกลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางลบก็จะสามารถแบ่งเป็นกลวิธีย่อยๆ ได้อีก ๗ กลวิธีคือ การแนะนำตักเตือน การเรียกร้องสิ่งอื่นตอบแทน การตำหนิ การซักถามต่อ การสั่ง การตัดความสัมพันธ์ การข่มขู่คาดโทษ ผู้วิจัยพบว่าในการเลือกใช้กลวิธีการตอบรับคำขอโทษจะแปรไปตามน้ำหนักความผิดที่เกิดขึ้น กล่าวคือในกรณีที่มีผู้ตอบแบบสอบถามประเมินว่าผู้ขอโทษไม่มีความผิดหรือมีความผิดน้อยก็จะนิยมเลือกใช้กลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางบวก ส่วนในกรณีที่ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินว่าผิดปานกลาง ผิดมาก และผิดมากจนไม่ให้อภัยก็จะนิยมเลือกใช้กลวิธีการตอบรับคำขอโทษในทางลบ โดยสังเกตได้ชัดเจนว่ายิ่งค่าน้ำหนักความผิดเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขร้อยละในการปรากฏของกลวิธีการตอบรับคำขอโทษทางบวกก็จะลดลงและกลวิธีการตอบรับคำขอโทษทางลบก็จะเพิ่มขึ้นโดยลำดับ
Other Abstract: This research aimes at studying Speech Act in Responding to Apologies in Thai and the relationship between these strategies and various degrees of offense. The data on which the analysis is based are collected from 200 selected undergraduate and graduate Thai, using Discourse Completion Test (DCT) It is found out that there are many strategies in Responding to Apologies. These strategies can be mainly devided into 2 groups. The first group is the Positive strategy in Responding to Apologies, the second group is the Negative strategy in Responding to Apologies. There are about six sub-strategies in the Positive strategy in Responding to Apologies, consisting of showing no anger, soothing, teasing, accusing something or oneself, to apologize, to praise. For the Negative strategy in Responding to Apologies, there are about seven sub-strategies. They are advising and warning, demanding for compensation, blaming, investigating, breaking the relationship, threatening with punishment It is also found that the choices of the Responding to Apologies respond to the degree of mistakes. In the case of minor mistake, the student selected to fill the questionaires will respond to the Positive strategy in Responding to Apologies. In case of serious, more serious, most serious and unforgivable mistakes, the Negative strategy in Responding to Apologies will be chosen. It is obvious that when the degree of mistakes increases, the percentile of the Positive strategy in Responding to Apologies will correspondingly decreases and vice versa.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10648
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.385
ISBN: 9741711905
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.385
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
passapong.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.