Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10780
Title: ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
Other Titles: Variables related to the adoption of the Internet network for the instruction of public university faculty members under the Jurisdiction of the Ministry of University Affairs
Authors: สุธิภา แสนทอน
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตในการศึกษา
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: (1) ศึกษาระดับการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กับตัวแปร 5 ด้าน คือ สถานภาพของอาจารย์ผู้สอนด้านสภาพสังคมของมหาวิทยาลัย การสนับสนุนของผู้บริหารมหาวิทยาลัย การแสวงหาความรู้ และการรับรู้คุณลักษณะและระบบการใช้งานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 335 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนในระดับมาก 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนการสอน พบตัวแปรที่มีค่าความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 27 ตัว 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนมีความคุ้มค่า (2) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (3) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกในการนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอน (4) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ เพื่อการเรียนการสอนของท่านได้ไม่จำกัด (5) การใช้บริการสืบค้นข้อมูล World Wide Web 3. ในการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Method) พบตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 9 ตัว ที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ เท่ากับ 62.47% ได้แก่ (1) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนมีความคุ้มค่า (2) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกในการนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอน (3) การใช้บริการสืบค้นข้อมูล World Wide Web (4) ผู้บริหารระดับคณะสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดซื้อ อุปกรณ์ติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (5) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (6) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการอ่านหนังสือตำรา (7) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้ทุกแห่ง (8) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน (9) การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
Other Abstract: To (1) study the adoption of the Internet network for instruction of public university faculty members under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs, (2) study the relationships between the adoption of the Internet network for instruction of public university faculty members under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs and five major selected variables: teacher status, university society, administrators support, acquisition of knowledge and perception of characteristics and systems of the Internet network and (3) identify predictor variables in the adoption of the Internet network. The samples were 335 public university faculty members under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs who have used the Internet network. The findings revealed that: 1. The public university faculty members under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs adopted the Internet network in high level. 2. There were statistically significant positive relationship at .01 level between the adoption of Internet network for instruction and 27 selected variables. The first five variables were (1) the benefit of the Internet network for instruction (2) the usefulness of the Internet network for instructional development (3) the convenience in using the Internet network for instruction (4) the unlimited information searching for instruction and (5) the use of World Wide Web. 3. In stepwise multiple regression analysis at .01 level there were nine predictor variables together were able to account for 62.47% of the varience. They were: (1) the benefit of the Internet network for instruction (2) the convenience of using the Internet network for instruction (3) the use of World Wide Web (4) administrators at faculty level supported budget in setting up the Internet network (5) the usefulness of using the Internet network for instructional development (6) self-study about the Internet network from books or texts (7) the Internet network could be linked to all computer networks (8) the Internet network was usable innovation and (9) the use of E-Mail
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10780
ISBN: 9746389327
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutipa_Sa_front.pdf868.3 kBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_ch2.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_ch3.pdf953.22 kBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sutipa_Sa_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.