Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10804
Title: การใช้องค์ประกอบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อสื่อบุคคลิกภาพผลิตภัณฑ์สุขอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นหญิง
Other Titles: The use of graphic composition on packaging to communicated personality for reproductive health products for female teenagers
Authors: มัทนี ผ่องเนตรพานิช
Advisors: เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบรรจุหีบห่อ -- การออกแบบ
การออกแบบกราฟิก
พฤติกรรมผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางการใช้องค์ประกอบศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สุขอนามัยเจริญพันธุ์ ที่มีความเหมาะสม มีความชัดเจนและเป็นสากล องค์ประกอบศิลป์ที่ใช้ได้แก่ ตัวอักษร ภาพประกอบ สี และการจัดองค์ประกอบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้อ้างอิงเป็นวัยรุ่นเพศหญิง ที่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มีอายุระหว่าง 15-25 ปี มีฐานะปานกลางถึงดีมาก พำนักอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยอิงหลักการแบ่งกลุ่มบุคลิกภาพตามทฤษฎีสะเกลภาพ (Would Image Scale) ของซิเคนโนบุ โคบายาชิ (Kobayashi) ในการแบ่งและจัดกลุ่มบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาใช้ในการสอบถามจากลุ่มเป้าหมายจำนวน 140 คน เพื่อหาว่าบุคลิกภาพใดสื่อความเป็นผลิตภัณฑ์สุขอนามัยได้ดีที่สุด จากนั้นจึงคัดเลือกมาเพียงสามอันดับแรก ได้แก่ กลุ่มบุคลิกสะอาด ธรรมชาติและสะโอดสะอง ในขั้นหลังจึงนำกลุ่มบุคลิกทั้งสามนี่ไปสร้างกลุ่มบุคลิกภาพผสม ที่เป็นไปได้ระหว่างกลุ่มบุคลิกภาพเหล่านี้ขึ้นอีก 4 กลุ่ม ทำให้กลุ่มบุคลอกภาพที่ใช้ในการออกแบบองค์ประกอบรวมเป็น 7 กลุ่ม แล้วออกแบบขั้นทดลอง เพื่อถามตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มอายุ 15-21 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการศึกษา กับกลุ่มอายุ 22-25 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงาน จากสองกลุ่มนี้ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ตามจำนวนกลุ่มขั้นต่ำสุดที่ต้องใช้ รวมเป็น 6 กลุ่มย่อย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ 5 ราย เป็นผู้ประเมินความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ก่อนที่จะนำไปสอบถามกลุ่มย่อยทั้ง 6 กลุ่ม จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจกลุ่มย่อย ผู้วิจัยนำไปวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการออกบรรจุภัณฑ์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบเรขศิลป์กลุ่มบุคลิกภาพสะอาด และกลุ่มบุคลิกภาพสะโอดสะอง มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สุขอนามัยเจริญพันธุ์ที่สุด สีที่เหมาะสมในการสื่อสารมากที่สุดคือ โทนสีชมพูทั้งอ่อนและเข็ม สีฟ้าทั้งอ่อนและเข็ม ภาพที่ใช้ในการสื่อสารมากที่สุดควรเป็นภาพนามธรรมในระดับสูง ภาพร่างกายผู้หญิงและดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหรือดูสดชื่นสีอ่อนเหมาะสมที่สุด ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ควรมีทั้งรูปและชื่อสินค้าอยู่รวมกัน
Other Abstract: To find a graphic composition guideline on packaging, which could suitably, clearly, and universally communicate personality of productive health products to female teenagers. Elements of design used were letter types, illustration, colors and compositions. Reference target groups were reproductive groups of female teenagers between 15 to 25 years old with median income and lived in Bangkok Metropolitan. This research applied Word Image Scale Theory of Shigenobu Kobayashi in the division and matching of personalities and products. The matched outcomes were used in questionnaire for target group of 140 persona to discover which personality could best communicate reproductive health products. Form these outcomes, only the best three personality groups were selected: Clean personality group, natural personality groups, and elegant personality groups. The combinations of these personalities were added to the selected three groups into seven groups. These seven groups then built into experimental designs, which would be assessed by the target groups. Two target groups were randomly selected from population in the 15-21 years old student group and the 22-25 years old working group. According to the least minimum odd number required for Focus Group Interview Process, three sub groups were used in each target group. In this research, the researcher requested five professional graphic designers to assess the validity of the questionnaire before applying to the six-sub group. The data obtained form these focus sub groups interviews were analyzed in developing the graphic design guideline on packaging. The research results indicated that graphic composition of clean personality group and elegant personality group were best appropriate for reproductive health products. Best colors were pink, and sky blue both the light and the dark tone. Illustration should be highly abstract. Female figures and pleasant smell flowers that look lively were most appropriate. Logo used should combine picture and product name
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10804
ISBN: 9741724225
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mattanee.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.