Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11020
Title: | อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน |
Other Titles: | The authority of the Anti-Money Laundering Office to examine the report or information on transactions |
Authors: | อลงกรณ์ นาคประเสริฐ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส สีหนาท ประยูรรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทำธุรกรรมส่วนใหญ่ต้องผ่านสถาบันการเงิน หรือการโอนทรัพย์สินก็ต้องผ่านหน่วยงานราชการทั้งสิ้น รายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมคือข้อมูลที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะต้องเก็บไว้เป็นความลับ แล้วเริ่มกระบวนการตรวจสอบติดตามถึงที่มาของเงินหรือทรัพย์สิน หากพบว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาของธุรกรรมรายใดเข้าข่ายความผิดมูลฐาน เมื่อนั้นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงเข้าไปสืบค้นที่มาความเกี่ยวโยงของเงินหรือทรัพย์สิน หากเกี่ยวข้องกับผู้ใดจะต้องตรวจสอบทั้งหมด เพื่อแสวงหารวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อไป สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงเป็นหน่วยงานที่สำคัญ ในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีประสิทธิภาพ ขั้นตอนในการตรวจสอบรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หากพบว่าเป็นการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือธุรกรรมที่มีเหตุอันควร เชื่อได้ว่าเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน การที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินออกคำสั่ง ในเรื่องการตรวจสอบรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 38 มาตรา 40 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จึงควรศึกษาการใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน Note Typescript (photocopy) |
Other Abstract: | Most of transactions have to work through out money institute; all alienations also have to work through out government. The process of examination the report and information on transaction are kept as confidential information by The Anti-Money Laundering Office. If the report or information on transaction was found that there are offences relating to commission of an offence, The Anti-Money Laundering Office will ascertain the sources of money and property to examine evidences for proceeding with the case. With the authority and functions, The Anti-Money Laundering Office is an important and effective administrative agency to examine offenced transactions. With the process of exaination the report or information on transaction, The Anti-Money Laundering Office has the authority to issuse ruling regarding to examine the report and information on transaction by virtue of article 38 and 40 of The Anti-Money Laundering Act of B.E. 2542 (1990). It is recomended that using power of The Anti-Money Laundering Office by The Anti-Money Laundering Act should be studied. (or analyzed). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11020 |
ISBN: | 9741746644 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
alongkorn.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.