Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorณัฏฐณิชา นาคงเมือง, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-26T05:17:16Z-
dc.date.available2006-07-26T05:17:16Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741760671-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1104-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractปัญหาด้านสุขภาพของประชากรเป็นปัญหาที่สำคัญและสั่งสมมานานของประเทศ ผลกระทบที่สำคัญคือรัฐบาลต้องใช้งบประมาณสูงในการดูแลสุขภาพของประชาชน อย่างไรก็ตามมาตรการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ข้อหนึ่งคือการ "สร้างสุขภาพ" นอกเหนือไปจากการ "ซ่อมสุขภาพ" ตามที่ปฏิบัติมาในอดีต โดยรัฐบาลประกาศให้ปี พ.ศ. 2545 เป็นปีแห่งการสร้างสุขภาพทั่วไทย ในขั้นแรก กระทรวงสาธารณสุขได้ยกเอาออกกำลังกาย เป็นประเด็นในการรณรงค์สร้างสุขภาพให้แก่ประชาชน และได้จัดกิจกรรมงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ ศึกษากระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายของกระทรวงสาธารณสุข และวาระการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในกระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกาย การวิจัยมีขอบเขตครอบคลุมเฉพาะโครงการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกาย จากกิจกรรมงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และดำเนินการวิจัยด้วยการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักสามขั้นตอนคือ ขั้นการกำหนดนโยบายในการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกาย ขั้นการจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ และขั้นดำเนินการรณรงค์งานวันมหกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยระบุว่าการรณรงค์ครั้งนี้ไม่ได้มีการแยกแยะกลุ่มเป้าหมาย และวาดผังความคิดของกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะวางแผนการออกแบบกิจกรรมสื่อสาร ผลการวิจัยยังพบอีกว่า วาระการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ในกระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายนั้น ถูกกำหนดโดยภาครัฐผู้กำหนดนโยบายและสื่อมวลชนผู้นำเสนอข่าว ลักษณะของวาระการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนประกอบไปด้วย วาระที่ให้การสนับสนุน วาระในลักษณะเป็นกลาง และวาระที่วิพากษ์วิจารณ์ แตกต่างไปตามประเภทของสื่อen
dc.description.abstractalternativeUnhealthiness of population has long been a major national problem in Thailand. An obvious impact is that the government has to spend a great deal of budget to cope with the problem. One possible solution is the providing of the "health promotion", an offensive action, in addition to the conventional "health care", which is a defensive action. The Thai government announced that the year 2002 would be "The Year of Health Promotion" and held the nation's first "The Power of Exercise" event. The objectives of this research are twofold: to study the procedure of the Ministry of Public Health's popularization of physical exercise and to study the role of mass media on agenda setting of the campaign. The scope of this research covers the Ministry of Public Health's first "The Power of Exercise" event. This research is conducted using the qualitative method. The information is acquired by several means including the collecting of related documents, news, and media records and the in-dept interviewing of key informants. The results of this research show that the procedure of the Ministry of Public Health's popularization of physical exercise consisted of three major steps 1) policy planning of the health promotion campaign, 2) holding of "The Power of Exercise" event, and 3) promoting of the "The Power of Exercise" event. However, it is found that a drawback of this health promotion campaign was the omitting of target segmentation and target thought analysis. The results also show that the agenda presented by mass media was firstly set by the government as the policy-maker and consequently set by the mass media themselves. News reports from mass media relating to "The Power of Exercise" event can be categorized into threefold: supporting agenda, neutral agenda, and critical agenda.en
dc.format.extent3669785 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.17-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระทรวงสาธารณสุขen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen
dc.subjectการวางแผนการสื่อสารen
dc.subjectการสื่อสารสาธารณสุขen
dc.titleกระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายผ่านสื่อมวลชนของกระทรวงสาธารณสุขen
dc.title.alternativeProcess of populariztion on the ministry of public health's exercising policy through mass mediaen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKitt.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.17-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NatanishaNa.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.