Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11180
Title: | รูปแบบการเดินทางของผู้อยู่อาศัยชานเมืองกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา |
Other Titles: | Trip patterns of residents in suburban Bangkok : a case study of Taling Chan and Tawee Wattana districts |
Authors: | ดวงกมล มณีเนตร |
Advisors: | สุวัฒนา ธาดานิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwattana.T@Chula.ac.th |
Subjects: | เมือง -- การเจริญเติบโต การใช้ที่ดิน ชานเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ การเดินทาง ตลิ่งชัน (กรุงเทพฯ) ทวีวัฒนา (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษารูปแบบการเดินทางซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์การเดินทาง ความถี่ จุดปลายทาง ระยะทาง ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย เป็นต้น และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการเดินทาง ของผู้อยู่อาศัยชานเมืองกรุงเทพมหานคร โดยใช้เขตตลิ่งชันและทวีวัฒนาเป็นตัวอย่างในการศึกษา จากการศึกษาข้อมูลด้านการขยายตัวของพื้นที่เมือง ลักษณะการใช้ที่ดินของเมือง และโครงสร้างด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่เขตตลิ่งชันและทวีวัฒนา ในบริบทของกรุงเทพมหานครและบริบทของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า เขตตลิ่งชันและทวีวัฒนาเป็นพื้นที่ซึ่งมีบทบาท และถูกควบคุมลักษณะการใช้ที่ดินให้เป็นพื้นที่สีเขียว และริ้วสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของประชากรเมือง และการเกษตรกรรมชานเมือง มีสัดส่วนของประชากรอยู่อาศัยต่อการจ้างงาน สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ของเมือง ในการศึกษารูปแบบการเดินทางใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งกลุ่มประชากรเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนนอกภาคเกษตร จำนวน 155 ราย และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนภาคเกษตร 52 รายพบว่า รูปแบบการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในครัวนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อไปทำงาน 49.68% มีปลายทางบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับที่อยู่อาศัยในเขตเมืองชั้นใน 35.71% โดยใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล 46.45% ผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนภาคเกษตรส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อไปขายสินค้า 34.62% และไปทำงาน 28.85% มีปลายทางอยู่ในเขตตลิ่งชันและทวีวัฒนา 48.08% ทั้งนี้ ผู้เดินทางทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจกับ ความสะดวกสบายในการเดินทางสูงที่สุด และมีความพึงพอใจในภาพรวมของการเดินทาง ทางเลือกและค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยที่สุด และในอนาคตผู้อยู่อาศัยชานเมืองมีแนวโน้ม ที่จะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น อันจะเป็นการสร้างปัญหาซึ่งเกิดจากปริมาณการจราจรที่แออัด และการสิ้นเปลืองพลังงานมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการเดินทาง ของผู้อยู่อาศัยชานเมือง สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ลักษณะการใช้ที่ดิน การกระจุกตัวของการจ้างงานและสถานบริการ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ด้านกายภาพ อันเป็นปัจจัยจากลักษณะของผู้เดินทาง ลักษณะของการเดินทาง และความพึงพอใจในการเดินทาง ซึ่งการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงปัจจัยตัวใดตัวหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อการเลือกการเดินทางของบุคคล ทั้งนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรจะปรับปรุงและควบคุมมาตรการ ในการใช้ที่ดินชานเมืองโดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวในการเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของประชากรเมืองและแหล่งงานแบบเมือง ด้านการขนส่ง ควรส่งเสริมปรับปรุงให้เกิดการเดินทางระยะสั้นภายในท้องถิ่น ทั้งด้านเส้นทาง ยานพาหนะ และการรวมกลุ่มชุมชนอย่างไรก็ดี เนื่องจากการศึกษาเป็นเพียงตัวอย่างขนาดเล็ก จึงควรได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายผลให้มีความครอบคลุมลักษณะกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของผู้อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองในด้านอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการวางแผนการใช้ที่ดินและระบบโครงข่ายคมนาคมของเมืองกรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | To study the travel, or commuter, patterns of Bangkok suburban residents, their types of transport, final destinations, travel times, distances and costs as well as the influencing factors. Taling Chan and Tawee Watana districts were selected as the subject areas and information as to the city expansion, use of land, population makeup, economic and social status, was collected from Bangkok Metropolitan Administration and Taling Chan documents. Results of this study showed Taling Chan and Tawee Watana are green and green-striped zones and serve as residential communities for a city and agricultural populace. A larger percentage of the residents are employees when compared to other areas. A questionnaire was employed to survey travel patterns. The subjects were divided into two groups, residents living outside agricultural areas, or 155 persons, and those living within an agricultural setting, or 52 persons. The study the largest number of subjects of the first group, those living outside an agricultural zone, or 49.68%, had work as the primary reason for their trip. Their final destination for 35.71% was a nearby city (urban) area and 46.45% used private vehicle. The largest number of the latter group, or those living in an agricultural setting, or 34.62%, traveled in order to sell their products followed by 28.85% who traveled for work. 48.08% had a final destination in either Taling Chan or Tawee Watana. The highest percentage of both groups were satisfied with their travel convenience, followed by transport in general, i.e. choices and costs, respectively. The future trend for these suburban dwellers is to use their own mode of private transport. This could lead to problems including heavier congested traffic and increased energy, or fuel, consumption. Influencing factors affecting travel can be divided into two categories, first, the use of land, i.e. the attraction of people to places of employment and services. The second involves the people themselves, their characters as well as choice and satisfaction of different modes of transport. If any of these can be adjusted or changed, these will affect the publics choice of transport. It is therefore recommended that adjustments should be made to land use and its control standards in the suburban areas, specially green zones that are being used as residential areas for urban workers. Short distance travel within a zone should also be promoted including changes, or improvements, in road infrastructure, vehicles and the communities themselves. It must be remembered that this research only considers a small area or populace. It is therefore recommended that more studies of this kind be conducted to increase data to cover the entire situation including the suburban dwellers' economic and social conditions in order to use this information in future Bangkok metropolitan land and infrastructure development plans. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11180 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.315 |
ISBN: | 9740308716 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.315 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangkamol.pdf | 6.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.