Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11440
Title: ผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาเชาว์อารมณ์ ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
Other Titles: Effects of using group process activities on developing emotional intelligence of talented students in science and mathematics
Authors: พนิดา จันทรกรานต์
Advisors: ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
นิรันดร์ แสงสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: prasan@kbu.ac.th
Niran.S@Chula.ac.th
Subjects: กลุ่มสัมพันธ์
ความฉลาดทางอารมณ์
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์อารมณ์ของนักเรียน ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่มีคะแนนเชาวน์อารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จากแบบสำรวจเชาวน์อารมณ์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจงอย่างง่าย ในระยะการทดลองกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 12 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมทำกิจกรรมตามปกติ ผู้วิจัยได้วัดเชาวน์อารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบสำรวจเชาวน์อารมณ์ ในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ทั้งแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกันและสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนเชาวน์อารมณ์สูงกว่านักเรียน ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลองนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนเชาวน์อารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To study the effects of using group process activities on developing emotional intelligence of talented students in science and mathematics. The subjects were 40 Mathayom Suksa four talented students in science and mathematics from Mahidolwittayanusorn School whose scores were lower than percentile 25 by emotional intelligence inventory. They were randomly assigned into experimental group and control group with 20 each. The experimental group was trained by using 12 activities group process activities while the control group performed usual activities. All subjects were tested emotional intelligence by emotional intelligence inventory before and after treatment. The data were analyzed by both independent and dependent t-test. The results were as follows : 1. The students in the experimental group had higher scores on emotional intelligence on the posttest than those of the students in the control group at the significant level of .01 2. The students in the experimental group had higher scores on emotional intelligence on the posttest than their scores on the pretest at the significant level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11440
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.635
ISBN: 9740314392
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.635
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PanidaJan.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.