Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorรัตนาพร ไกรถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-10-07T03:31:41Z-
dc.date.available2009-10-07T03:31:41Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741711697-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11446-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ จำนวน 320 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และผู้แทนครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กรรมการสถานศึกษา และแบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (chi-square) เท่ากับ 26.552; p = 0.983 ที่องศาอิสระเท่ากับ 44 และค่า GFI มีค่าเท่ากับ 0.990 ค่า AGFI เท่ากับ 0.967 และค่า RMR เท่ากับ 0.021 ตัวแปรที่สำคัญของตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โรงเรียนมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่พัฒนานักเรียนตามศักยภาพ (ACT) นักเรียนมีความรู้เรื่องอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ (OCP) โรงเรียนดำเนินงานได้ตามแผนพัฒนาและแผน ปฏิบัติการประจำปี (PPL) บรรยากาศของสถานศึกษาเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ (CLL) กรรมการสถานศึกษาได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ความสามารถในการทำงานเป็นทีม (KTE) โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (CHC) โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน (SCC) กรรมการสถานศึกษาได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ความสามารถในการบริหารโรงเรียน (DAD) โรงเรียนมีธรรมนูญโรงเรียนที่ชัดเจนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้ตามสภาพจริง (CHA) ชุมชนดำรงไว้ซึ่งจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม (CUL) โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองต่อความต้องการของชุมชน (CUC) โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองต่อ ผู้เรียนที่หลากหลาย (CUS) โรงเรียนมีคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงานที่เหมาะสม (SUC) โรงเรียนมีแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียน (PRE) โรงเรียนมีรายงานผลการดำเนินงานประจำปี (REY) โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนอย่างพอเพียง (INS) และเด็กในเขตบริการทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง (SED) 2. ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมีผลต่อตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา (RESPON) ความรู้ความสามารถเรื่องการบริหารงานวิชาการ (KACAD)การแต่งตั้งที่ปรึกษาและหรือคณะอนุกรรมการเพื่อการดำเนินงานตามระเบียบที่เห็นสมควร (SUBCO) การส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (SPE) การจัดรูปแบบทีมงานให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (KMOD) และ การให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสถานศึกษาก่อนเสนอต่อสาธารณชน (REP) ตามลำดับ โดยชุดของตัวแปรดังกล่าวนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 58.10en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to develop the composite indicator for the performance effectiveness of the basic institutional committee under the Office of the National Primary Education and to study the factor affecting the performance effectiveness of the basic institutional committee. 320 schools under the Office of the National Primary education were the samples, drown by multi-stage stratified sampling. Data were collected from the director, the chairman and the teacher representative. The research instruments were the interview and the questionnaire about the performance effectiveness of the basic institutional committee. Data were analyzed by confirmatory factor analysis, canonical correlation and multiple regression analysis. The main findings were as follows: 1. The performance effectiveness of the basic institutional committee refer from model was fit to the impirical data with X2=26.552; p=0.983, df=44, GFI=0.990, AGFI=0.967 and RMR=0.021. Composite indicator for the performance effectiveness of the basic institutional committee consist of: the students have the basic education and knowledge in occupation and local knowledge; the committee should have knowledge in team working, academic administration and school administration; developing school to be knowledge source; the retention of community's traditions and cultures; there was environment for students to gain knowledge; there were extra activity support curriculum, school charter, local curriculum that suitable for students and community, sub-committee, the performance plan, reporting about performance plan, educational media, child center instruction and following the performance plan in school. 2. The 6 predictors with positive and significant weight were as: the committee have responsibility, have knowledge of academic administration, appoint sub-committee, support students' potentiality, and have team formatting, agree with the performance reporting. They accounted for 58.10% of variance of the composite indicator for the performance effectiveness of the basic institutional committee.en
dc.format.extent3644776 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen
dc.subjectประสิทธิผลองค์การen
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติen
dc.title.alternativeThe development of the composite indicator for the performance effectiveness of the basic institutional committee under the office of the National Primary Educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th,wkaemkate@hotmail.com-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanaporn.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.