Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11616
Title: | กระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดนครราชสีมา : กรณีศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชนไบเล่ห์-หลังจวนผู้ว่าฯ |
Other Titles: | Housing solution for railway track squatter community in Nakhonratchasima : a case study of Biley-Langjuanphuwa community |
Authors: | ณัฐพล อัศว์วิเศษศิวะกุล |
Advisors: | ชวลิต นิตยะ กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chawalit.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- นครราชสีมา การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนแออัด -- ไทย -- นครราชสีมา ชุมชนไบเล่ย์-หลังจวนฯ (นครราชสีมา) |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ชุมชนไบเล่ย์-หลังจวนฯ เป็นชุมชนบุกรุกที่ดินการรถไฟในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งแขวงบำรุงสะพานและอาคารนครราชสีมา การรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดให้เป็นชุมชนนำร่องในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน ของการรถไฟฯ โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม กายภาพและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนฯ การศึกษาดำเนินการตามแนวคิดการพัฒนาศักยภาพ ของชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการวางแผนเชิงปฏิบัติการ ด้วยการที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วม ในกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยผู้วิจัยมีบทบาทเป็นทั้งผู้ศึกษา กระตุ้น ให้คำแนะนำ ประสานงาน สนับสนุน และร่วมกิจกรรมกับชาวบ้าน เพื่อมุ่งเน้นให้ชาวบ้านเป็นผู้คิดค้นปัญหา หาแนวทาง และดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองให้มากที่สุด การวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ การสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การจดบันทึก และการถ่ายภาพ เป็นเครื่องมือในการวิจัย จากการเข้าร่วมทำงานกับชุมชนตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2545 พบว่าการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนไบเล่ย์-หลังจวนฯ เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาสองแนวทางขึ้นพร้อมกันคือ 1) การแก้ไขปัญหาด้วยการจัดการของหน่วยงานภายนอก และ 2) การแก้ไขปัญหาด้วยการพัฒนาความสามารถของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาสองแนวทางพร้อมกัน คือการที่ผู้วิจัยและผู้ใหญ่บ้านได้เข้ามามีบทบาทในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน 1) การแก้ไขปัญหาด้วยการจัดการของหน่วยงานภายนอก เกิดขึ้นจาก หน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องตระหนักถึง ปัญหาการบุกรุกที่ดินของชุมชน ต้องการผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว และชุมชนไม่มีความสามารถในการต่อรอง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการด้วยการจัดการของหน่วยงานภายนอก ได้แก่ การกระตุ้นจากผู้มีอำนาจระดับสูง การมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการของหน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนอุปสรรคในการดำเนินการดังกล่าวคือ ความล่าช้าในการดำเนินการของการรถไฟฯ การขาดความเอาใจใส่และความกระตือรือร้นของเจ้าหน้าที่ และการขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาชุมชนบุกรุก 2) การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชุมชนเกิดความตระหนัก และแก้ไขปัญหาที่ไม่ยุ่งยากมากร่วมกัน พัฒนาไปสู่การแก้ไขปัญหาในระดับที่ยากขึ้น ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นจะทำให้ชุมชนเรียนรู้ มั่นใจและสร้างศักยภาพที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยที่ความรู้สึกไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย จะเป็นตัวกระตุ้นให้ชุมชนหันมาแก้ไขปัญหาการถูกไล่รื้อ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดและดำเนินของกระบวนการคือ การรับรู้ถึงผลกระทบจากปัญหา ผู้นำชุมชน การเรียนรู้ ทักษะในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ผู้กระตุ้นและผู้ประสานงาน ส่วนอุปสรรคหรือข้อจำกัดได้แก่ ความลำบากในการหาผู้นำที่ชาวบ้านยอมรับ ผู้กระตุ้นต้องทุ่มเทและทำงานอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เข้าใจแนวคิดการพัฒนาความสามารถของชุมชน แนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนไบเล่ย์-หลังจวนฯ ตามแนวคิดของการพัฒนาความสามารถของชุมชน หน่วยงานเจ้าของที่ดินควรกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงการเป็นผู้บุกรุก และให้โอกาสชุมชนได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง ส่วนผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ควรให้การสนับสนุนข้อมูล และทรัพยากรที่จำเป็น โดยเน้นให้ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย การศึกษาครั้งต่อไป ผู้ที่จะทำการวิจัยในลักษณะเดียวกันควรมีการผึกฝนวิธีการวิจัยเิชิงปฏิบัติการ และเลือกชุมชนที่มีระดับการพัฒนาแตกต่างจากชุมชนไบเล่ย์-หลังจวนฯ |
Other Abstract: | The Biley-Langjuanphuwa community is a squatted community in the land along the railway tracks and behind the governor of Nakhonratchasimaʼs house. The State Railway of Thailand, Nakhonratchasima Branch aims to this community as a pilot project for solving railway tracks squatter problem by using the participation of involved parties. The aims of this research were to study the housing solution process for the Biley-Langjuanphuwa community, the changes of community participation, the problems, and limitations of the process. Economic and social conditions, physical characteristics and community settlement were also investigated in this research. The research experimented the concept of "Building Community Capacity" for housing solution. To do the study, the researcher had participated the process of community's housing solution by urging, suggesting, co-operating and supporting in order to encourage community members to identify problems, and to initiate and implement solutions by themselves. Secondary data, observation, semi-structure interview, diary, or memos, and photographing were also applied for this project. This study, between 24 June 2001 until 31 January 2002, found that there were two types of housing solutions initiated coincidentally: 1) The housing solution by external parties; 2) The housing solutions by community itself. The collaboration of the researcher and the headman of nearby village was a major factors in creating two solutions. The study found that the external parties became involved because of encroachment, the community's lack of negotiation power and desire for immediately tangible results. An informal relationship between the parties and the persons in authority are the main factor to make the process go forward. The constrains of the process were the delays of procedure of State Railway of Thailand, lack of officer's attention, and lack of understanding person. It showed that the process of Building Community Capacity for housing solution started when community realized that they must solve their problem themselves, Insecurity of eviction was the main reason to motivate the people to solve their housing problem. The effect of problem, community leaders, coordinators, and problem solving skill were essential for this process. The constraints of the process were the difficulty in finding respected community leaders, lack of knowledge about solution process management. To solve the Biley-Langjuanphuwa housing problem by using concept of the building community capacity, the organization should emphasize the trespass status of the people. In addition, they should have opportunity to solve their problems by themselves, other related organization must support them with information and essential resources. In further studies, the researcher should have more experience in action planning and selected communities with different characteristics from Biley-Langjuanphuwa. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11616 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.12 |
ISBN: | 9740314279 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.12 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natthapon.pdf | 15.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.