Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11656
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุลักษณ์ ศรีบุรี | - |
dc.contributor.author | ขนบพร วัฒนสุขชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-11-10T03:42:17Z | - |
dc.date.available | 2009-11-10T03:42:17Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740306276 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11656 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปั้นของเด็กอายุ 5 ถึง 6 ปี ตามทฤษฎีของ แคลร์ โกลอมบ์ โดยเน้นการศึกษาในเรื่องระยะการปั้น วิธีการสร้าง และลักษณะการตกแต่งการปั้น กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบุญฤดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2544 จำนวน 30 คน เด็กทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 5 ปี 4 เดือน ใช้การเก็บผลงานทั้งหมด 3 ครั้ง มีจำนวนผลงานทั้งหมด 90 ชิ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการปั้น 2) แบบคำสั่งงานปั้น 3) แบบวิเคราะห์งานปั้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากเกณฑ์พัฒนาการด้านการปั้นของ แคลร์ โกลอมบ์ 4) แบบสัมภาษณ์ประกอบพฤติกรรมการปั้น 5) แบบสังเกตประกอบพฤติกรรมการปั้น ผลการวิจัยพบว่า ผลการปั้นของเด็กส่วนมากเป็นไปตามทฤษฎีของ แคลร์ โกลอมบ์ มีรายละเอียดดังนี้ 1) เด็กส่วนมากปั้นแบบผสมคือ มีลักษณะของการปั้นที่ผสมผสานกันระหว่างการปั้นแบบยืน ลอยตัว และการปั้นแบบแผ่นระหว่างลักษณะ 2 มิติแบบเดิม และ 3 มิติที่มีลักษณะของโครงสร้าง และความสมดุลที่เหมือนจริงมากขึ้น 2) วิธีการสร้างหรือการขึ้นรูปร่างในการปั้นของเด็กส่วนมาก ใช้วิธีนำมาต่อกัน 3-4 ส่วนคือ นำหัวมาต่อในส่วนบน แนวตั้งมีรายละเอียดของรูปทรง แขน ขาที่ชัดเจน และมีการปั้นที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ส่วนวิธีที่ใช้น้อยที่สุดคือ การปั้นแบบกลม ลอยตัวมีลักษณะเป็นทรงรี ยาว รูปร่างที่ปั้นไม่มีความแตกต่างกัน 3) ลักษณะการตกแต่งการปั้น พบว่าเด็กส่วนมากใช้การนำรายละเอียดย่อยมาติดมากที่สุด และมีการตกแต่งในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น นอกจากการปั้นของเด็กจะเป็นแบบผสมตามลำดับขั้นของพัฒนาการตามปกติแล้ว การแสดงออกทางด้านพฤติกรรมในการปั้นพบว่า เด็กส่วนมากมีประสบการณ์ในการปั้นคนด้วยดินน้ำมันมาก่อน เด็กส่วนมากจะชอบใช้ดินน้ำมันสีเหลืองในการปั้น และชอบปั้นผลไม้มากที่สุด นอกจากนี้เด็กยังมีความต้องการอธิบายถึงสิ่งที่ตนเองปั้น ซึ่งเด็กจะใช้เวลาในการปั้นโดยเฉลี่ย 20 นาที | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the clay modeling of children aged five to six based on Claire Golomb's theory emphasizing the modeling figure stage, the method of construction and decoration. Subjects were 30 preschool children third level kindergarten of Boonruedee school under Office of the Private Education Commission in 2001 academic year. The average of the children's age was 5 years 4 months. The instruments that helped conduction the research were 1) Equipment and the modeling instruments 2) The instruction for modeling 3) a set of criteria for scoring which constructed by the researcher based on Claire Golomb's theory 4) The interviewing form 5) The observation form. The results were found that most of children modeling followed Claire Golomb's theory and the details were 1) The combining type of the third stage was the most types of figure emerged as a compromised formation between the flat of two-dimensional and the three-dimensional model which emphasis on the creation of balanced and symmetrical structures. 2) Most of the method of construction used joining of 3-4 parts as addition of head on top of the column body appeared to evolve the differentiation of parts either by a process of addition with the detail of arms and legs and increasing. The least of the method was the global column there was a lengthened blob and undifferentiated. 3) The decoration of modeling found that most of the children attached the detail and increasing. The researcher found that the children clay modeling followed the clay modeling stages. In addition, it was found that their behaviors on clay modeling were follows; most children already had experience in clay modeling, most of their favorite color of clay modeling was yellow and preferred to model fruits and they wanted to describe their models while modeling and spent time in average 20 minutes. | en |
dc.format.extent | 1709747 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.629 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาปฐมวัย | en |
dc.subject | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน | en |
dc.subject | ศิลปกรรมของเด็ก | en |
dc.subject | การปั้น | en |
dc.title | การศึกษาการปั้นของเด็กอายุ 5 ถึง 6 ปี ตามทฤษฎีของ แคลร์ โกลอมป์ | en |
dc.title.alternative | A study of clay modeling of childten ages five to six based on Claire Golombs' theory | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sulak.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.629 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khanobporn.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.