Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11717
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล กีรติพิบูล | - |
dc.contributor.author | พรรณวดี วิถีสำราญธรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-11-26T09:04:15Z | - |
dc.date.available | 2009-11-26T09:04:15Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746389688 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11717 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ โดยการผสมโปรตีนเมล็ดงาและโปรตีนเมล็ดถั่วเหลืองลงในโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ ขั้นแรกศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสกัดโปรตีนจากกากเมล็ดพืชน้ำมันทั้ง 3 ชนิด โดยศึกษาหาอัตราส่วนของกากต่อน้ำที่เหมาะสมสำหรับการสกัดโปรตีนที่ pH 8 เป็นเวลา 30 นาทีในอัตราส่วน 1:20 1:40 1:60 และ 1:80 (กรัมต่อมิลลิลิตร) พบว่าอัตราส่วนของกากเมล็ดฝ้ายต่อน้ำและกากถั่วเหลืองต่อน้ำที่เหมาะสมคือ 1:40 และอัตราส่วนของกากงาต่อน้ำที่ 1:60 จะให้ปริมาณโปรตีนที่สกัดได้สูง 33.78% 61.88% และ 20.03% (โดยน้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ จากนั้นศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารละลายด่างรวมทั้งเวลาที่ใช้ในการสกัดโปรตีน โดยสารละลายด่างที่ศึกษาได้แก่สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดโปรตีนจากกากเมล็ดฝ้าย การเมล็ดงา และกากเมล็ดถั่วเหลืองเหมือนกัน คือใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.02 โมล่าร์ เป็นเวลา 30 นาที (77.29% 94.87% และ 81.55% โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ) ต่อมาศึกษา pH ที่ทำให้โปรตีนมีความสามารถในการละลายต่ำสุดเพื่อใช้ในการตกตะกอนโปรตีน พบว่าที่ pH 3.5 โปรตีนเมล็ดฝ้ายจะมีความสามารถในการละลายต่ำสุด (13.33% โดยน้ำหนักแห้ง) และใช้ pH 5.4 และ 5.5 ในการตกตะกอนโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองตามลำดับ จากนั้นจึงผลิตโปรตีนสกัดจากเมล็ดพืชน้ำมันทั้ง 3 ชนิด และเมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของโปรตีนทั้ง 3 ชนิดพบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายจะมีโปรตีน 73.76% โดยน้ำหนักแห้ง และมีสารกอสสลิปอลเพียง 0.0014% โดยน้ำหนักแห้ง ซึ่งปลอดภัยต่อการบริโภค ส่วนในโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองจะมีโปรตีน 83.24% และ 88.16% โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ซึ่งถือว่าโปรตีนทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นเพียงโปรตีนเข้มข้น เพราะมีปริมาณโปรตีนน้อยกว่า 90% และศึกษาสมบัติการใช้งานของโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ พบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายมีสมบัติในการดูดซับน้ำและน้ำมันได้ (2.27 มิลลิลิตรของน้ำต่อโปรตีนสกัด 1 กรัม และ 3.09 มิลลิลิตรของน้ำมันต่อโปรตีนสกัด 1 กรัม ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังมีสมบัติในการเกิดอิมัลชั่น (61.05% โดยน้ำหนัก) และสมบัติในการเกิดฟอง (110% โดยน้ำหนัก) แต่ฟองที่ได้จะมีความเสถียรภาพต่ำ และพบว่าระหว่าง pH ในช่วง 4-6 โปรตีนเมล็ดฝ้ายมีความสามารถในการละลายต่ำสุด (1.86-6.19% โดยน้ำหนัก) และเมื่อนำโปรตีนสกัดทั้ง 3 ชนิดมาวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน พบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษจะมีเมไธโอนีนและไลซีนเป็นกรดอะมิโนจำกัด แต่ในโปรตีนงาจะมีเมทไธโอนีนอยู่สูง และโปรตีนถั่วเหลืองจะมีไลซีนสูง ดังนั้นจีงเหมาะที่จะนำโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองมาผสมกับโปรตีนเมล็ดฝ้ายเพื่อเพิ่มคุณภาพของโปรตีน ซึ่งเมื่อผสมโปรตีนจากเมล็ดพืชทั้ง 3 ชนิดเข้าด้วยกัน และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและคุณภาพของโปรตีนผสมพบว่า ปริมาณโปรตีนและคุณภาพของโปรตีนผสมจะสูงขึ้น เมื่อเทียบกับโปรรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษเพียงอย่างเดียว โดยอัตราส่วนการผสมของโปรตีนเมล็ดฝ้าย โปรตีนเมล็ดงาและโปรตีนเมล็ดถั่วเหลืองที่ 1:1:2 และ 1:1.5:1.5 โปรตีนผสมจะมีคุณภาพสูงกว่าที่อัตราส่วน 1:1:1: และ 1:2:1 | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of the research was to improve quality of glandless cottonseed protein by supplementing with protein from sesame and soybean. First, conditions for isolation of proteins from three kinds of oilseed meals were studied. Ratios of oilseed meal to water at 1:20 1:40 1:60 and 1:80 by weight at pH 8 for 30 minutes were used. The optimum ratios for cottonseed meal and soybean meal were 1:40 and 1:60 for sesame meal. After that, type of alkali solutions (calcium hydroxide and sodium hydroxide) and contact time were studied. The optimum conditions for all kinds of meal were found to be the same, i.e. by using sodium hydroxide 0.02 molar for 30 minutes. The cottonseed protein could be isolated by adjusting pH to 3.5 and pH of 5.4 and 5.5 were found suitable for isolating sesame protein and soybean protein respectively. Proximal analysis of these proteins showed that cottonseed protein contained 73.76% protein and 0.0014% free gossypol (by weight), which was considered safe for consumption. Extracted sesame and soybean proteins contained 83.24% and 88.16% protein (by weight) respectively. These proteins are regarded as concentrated protein because they contain less than 90% protein. For functional properties, 1 g of cottonseed protein could absorb 2.27 ml of water and 3.09 ml of oil. Emulsion property was 61.05% by weight and foaming property was 110% by weight but stability of foam was low. Cottonseed protein solubility was minimum at pH range of 4-6. Amino acid analysis of cottonseed protein showed that methionine and lysine were limiting amino acid, but sesame protein and soybean protein were methionine and lysine rich. Supplementation of sesame protein and soybean protein to cottonseed protein could improve quality of cottonseed protein. Ratio of cottonseed protein : sesame protein : soybean protein at 1:1:2 and 1:1.5:1.5 gave better protein quality than at ratio 1:1:1 and 1:2:1. | en |
dc.format.extent | 863032 bytes | - |
dc.format.extent | 726206 bytes | - |
dc.format.extent | 1246221 bytes | - |
dc.format.extent | 798983 bytes | - |
dc.format.extent | 1003069 bytes | - |
dc.format.extent | 923098 bytes | - |
dc.format.extent | 706631 bytes | - |
dc.format.extent | 1299624 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โปรตีนจากพืช | en |
dc.subject | การสกัด (เคมี) | en |
dc.subject | ถั่วเหลือง | en |
dc.subject | เมล็ดงา | en |
dc.subject | เมล็ดฝ้าย | en |
dc.title | การสกัดโปรตีนเข้มข้นจากเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษและการปรับปรุงคุณภาพ ของโปรตีนที่ได้โดยการเสริมด้วยโปรตีนเข้มข้นจากเมล็ดงา และถั่วเหลือง | en |
dc.title.alternative | Isolation of glandless cottonseed protein concentrate and improvement of the protein quality by supplementing with sesame seed and soybean protein concentrates | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | suwimon.k@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phannavadee_Vi_front.pdf | 842.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch1.pdf | 709.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch2.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch3.pdf | 780.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch4.pdf | 979.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch5.pdf | 901.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_ch6.pdf | 690.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannavadee_Vi_back.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.