Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11851
Title: วิเคราะห์ต้นทุนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการบำบัด และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยไม่ผ่านการบำบัด ก่อนส่งออกนอกโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Other Titles: Cost analysis of waste disposal of treated and non-treated infectious waste : case study of King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: เบญจพร จิตรหาญ
Advisors: ทศพร วิมลเก็จ
อานนท์ วรยิ่งยง
สรันยา เฮงพระพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thosporn.V@Chula.ac.th
Arnond.V@Chula.ac.th
Sarunya.H@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ขยะทางการแพทย์
การกำจัดขยะ -- ต้นทุน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาต้นทุนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการบำบัด และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยไม่ผ่านการบำบัดส่งออกนอกโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูล มูลฝอยติดเชื้อจากหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาลตามกลุ่มตัวอย่าง ใช้การประมาณค่าปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ และหาองค์ประกบของมูลฝอยติดเชื้อโดยใช้ค่าสัดส่วนคำนวณต้นทุน การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการบำบัด ด้วยวิธีออโตเคลฟ และวิธีไมโครเวฟ และคำนวณต้นทุนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยไม่ผ่านการบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่โรงพยาบาลปฏิบัติอยู่ โดยแบ่งต้นทุนออกเป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร ผลการศึกษาพบว่าปริมาณมูลฝอยติดเชื้อใน 7 วัน จาก 11 หน่วยงานมี ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ 1,286.16 กก.คิดเป็น 183.94กก./วัน โดยมูลฝอยติดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ สำลี ก๊อซ ผ้าพันแผล (41.8%), หน่วยงานที่มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อมากที่สุดคือ ห้องตรวจทางปฏิบัติการ (233.92 กก.) เมื่อคำนวณอัตราการเกิดมูลฝอยติดเชื้อพบว่ากลุ่มห้องผ่าตัดและห้องคลอด มีอัตราการเกิดมูลฝอยติดเชื้อมากที่สุด (4.98 กก./คน/วัน) ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถบำบัดด้วยออโตเคลฟ และไมโครเวฟ ได้ คิดเป็น 94.17% และ 97.29% ตามลำดับ) การคำนวณต้นทุนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พบว่า วิธีที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการออโตเคลฟ ขนาดความสามารถ 32 กก./ชม. มีต้นทุนรวม 10,416,871.79 บาท เฉลี่ยคิดเป็น 24.95 บาท/กก., การบำบัดด้วยกระบวนการออโตเคลฟขนาดความสามารถ 907 กก./ชม. มีต้นทุนรวม 9,986,329.26 บาท เฉลี่ยคิดเป็น 23.92 บาท/กก. การบำบัดด้วยกระบวนการออโตเคลฟ ขนาดความจะ 1,000 ลิตรแบบบรรจุมูลฝอยแบบเป็นรอบๆ มีต้นทุนรวม 9,468,084.74 บาท เฉลี่ยคิดเป็น 22.67 บาท/กก. การบำบัดด้วยกระบวนการทางไมโครเวฟ ขนาดความสามารถ 100 กก./ชม. มีต้นทุนรวม 10,942,700.09 บาท เฉลี่ยคิดเป็น 26.21 บาท/กก. การบำบัด้วยกระบวนการทางไมโครเวฟ ขนาดความสามารถ 408 กก./ชม. มีต้นทุน 12,468.127.15 บาท เฉลี่ยคิดเป็น 29.86 บาท/กก. และ วิธีที่ไม่ผ่านการบำบัดมีต้นทุนรวม 9,928,127.05 เฉลี่ยคิดเป็น 23.78 บาท/กก.โดยการบำบัดด้วยกระบวนการออโตเคลฟ ขนาดความจุ 1,000 ลิตร มีจุดคุ้มทุนเร็วที่สุดคือ ที่ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ 340,146.89 กก. หรือประมาณ 10 เดือน และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต้นทุนรวมของการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ 340,146,89 กก. หรือประมาณ 10 เดือน และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าดำเนินการ รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ และการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าลงทุน ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในจัดสรรทรัพยากร สำหรับใช้ในการกำจัดมูลติดเชื้อของโรงพยาบาล ตลอดจนเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสม
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to carry out cost analysis of treated and non-treated infectious waste disposal. The composition of infectious wastes were collected and segregated at the sample infectious waste generators. To estimate the quantity of infectious wastes. The relevant of cost data were collected retrospectively. The total cost of treated and non-treated infectious wastes were computed from capital cost, labor cost and material cost. The treatment technologies for this study were autoclaving and microwaving. The result found that infectious waste quantities were 1286.16 kg (from 11 department, 7 days) or 183.94 kg/day. The major component was cotton, gauze and bandage (41.8%). The laboratory room produced the highest quantity of infectious wastes (233.92 kg.), and the highest rate of infectious waste generations were the operating and delivery room (4.98 kg./patient/day). The infectious wastes that can be treated by autoclaving and microwaving were 94.17% and 97.29% respectively. The cost analysis revealed that the total cost of autoclaving with capacity of treatment 32 kg/hr. was 10,416,871.79 baht (average total cost 24.95 baht/kg.), total cost of autoclaving with capacity of treatment 907 kg/hr. was 9,996,329.26 baht (average total cost 23.92 bath/kg.), total cost of autoclaving with capacity 1,000 litre was 9,468,084.74 baht (average total cost 22.67 baht/kg)., while total cost of microwaving capacity of treatment 100 kg/hr. was 10,942,700.09 baht (average total cost 26.21 baht/kg.), total cost of microwaving with capacity of treatment 408 kg/hr. was 12,468.127.15 baht (average total cost 29.86 baht/kg.). Total cost of non-treated infectious wastes were 9,928,127.05 bath (average total cost 23.78 baht/kg). the earliest break even point of technology was autoclaving with capacity 1,000 litre (at 340,146.89 kg. or in 10 month) and the operating cost changing has more effect to total cost of infectious waste disposal than the capital cost changing and the infectious waste quantity changing. The results of this useful for the administrator to allocate budget for infectious waste management and to make decision on the alternative technologies of infectious waste treatment to reduce infectious wastes and reduce cost in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11851
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjaporn.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.