Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเริงเดชา รัชตโพธิ์-
dc.contributor.authorธนพล บัวมงคล, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-29T06:56:14Z-
dc.date.available2006-07-29T06:56:14Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740309089-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เสนอวิธีการออกแบบอย่างเหมาะที่สุดสำหรับโครงหลังคาเหล็กแบบโครงถักซึ่งพิจารณาผลของความไม่เชิงเส้นทางเรขาคณิตและเสถียรภาพในระนาบของโครงสร้าง โดยมีหลักการคือหาค่าความหนาแน่นของพลังงานความเครียด (strain energy density) ของแต่ละองค์อาคารซึ่งส่งผลต่อค่าการกระจัดโดยรวม จากนั้นปรับลดขนาดขององค์อาคารที่มีความหนาแน่นของพลังงานความเครียดต่ำ และเพิ่มขนาดขององค์อาคารที่มีความหนาแน่นของพลังงานความเครียดสูง ซึ่งชุดคำตอบที่เหมาะสมที่สุดคือชุดคำตอบที่ให้ค่าความหนาแน่นของพลังงานความเครียดเท่ากันในทุกองค์อาคาร แต่ชุดคำตอบที่ได้จากวิธีการนี้ยังมิอาจรับประกันได้ว่าเป็นชุดคำตอบที่ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่ได้นำปัจจัยอื่นๆ มาพิจารณาจนครบ เช่น หน่วยแรงคงค้าง ความไม่สมบูรณ์ ความน่าเชื่อถือ เป็นต้น อนึ่งเนื่องจากหลักการของการออกแบบอย่างเหมาะที่สุดคือการทำให้องค์อาคารมีขนาดเล็ก และเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งจะทำให้เสถียรภาพของโครงสร้างมีความสำคัญมากขึ้น จึงต้องตรวจสอบเสถียรภาพนอกระนาบและกำหนดตำแหน่งค้ำยัน เพื่อป้องกันการสูญเสียเสถียรภาพนอกระนาบ และเพื่อรักษาคำตอบที่ได้จากการอกแบบอย่างเหมาะที่สุดที่ได้จากการพิจารณาเสถียรภาพของโครงสร้างในระนาบแต่เพียงอย่างเดียวเอาไว้ งานวิจัยนี้มีตัวอย่างที่เป็นโครงข้อหมุนเตี้ยซึ่งมีความไม่เชิงเส้นสูง และได้พิจารณาโครงข้อหมุนที่เป็นโครงหลังคาในช่วง 30 ถึง 80 เมตร โดยมีโครงสร้างซึ่งเป็นโครงหลังคาของหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีความยาวช่วง 64 เมตร จากการออกแบบอย่างเหมาะที่สุดพบว่าต้องใช้ปริมาณวัสดุ 30.9 ตัน และต้องการค้ำยันถี่บริเวณกลางช่วง ซึ่งโครงสร้างจริงใช้ปริมาณวัสดุ 32.9 ตัน แต่ถ้าลองเปรียบเทียบโดยรวมระบบโครงหลังคารองเข้าไปด้วย พบว่าโครงสร้างจริงใช้ปริมาณวัสดุน้อยกว่าคำตอบที่ได้จากการออกแบบอย่างเหมาะที่สุดประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์en
dc.description.abstractalternativeThis paper presents a method of design optimisation of steel roof trusses with nonlinear geometric and in-plane stability considerations. The strain energy density which is an index showing the contribution of each member to the total displacement can be evaluated. The material should be added to members with high strain energy density and removed from members with low strain energy density. Theoretically, the optimum design is obtained when all members hae the same strain energy density. By using this method, however, the solution is not guaranteed to be absolutely optimum because not all variables were included in the optimised function such as residual stress, imperfection, reliability. As the solution from the design optimisation tends to reduce the amount of required material, the role of structural stability becomes more important. Teh solution from in-plane optimisation must be checked for out-of-plane stability and the structure braced accordingly in order to maintain the validity of the in-plane solution. Examples include a highly nonlinear shallow truss and plane roof trusses with span length ranging from 30 m to 80 m. One of these is a 64-m roof truss for the existing Chiang Mai University convention hall. By design optimisation, the required amount of steel is 30.9 tons excluding close bracing in the middle zone, as against 32.9 tons used in the actual truss. However, by estimated comparison, the actual truss including bracing turned out to be 4 percent lighter than that given by the optimised solution.en
dc.format.extent4531985 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการโปรแกรมไม่เชิงเส้นen
dc.subjectโครงสร้างเหล็กen
dc.subjectการออกแบบวิศวกรรมen
dc.subjectการออกแบบโครงสร้างen
dc.subjectหลังคาen
dc.titleการคำนวณออกแบบอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับโครงหลังคาเหล็กแบบโครงถักช่วงยาวที่มีพฤติกรรมไม่เชิงเส้นทางเรขาคณิตโดยมีเงื่อนไขของเสถียรภาพในระนาบen
dc.title.alternativeOptimum design of long span steel roof trusses with nonlinear geometric behaviour and in-plane stability constrainten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.authorfcerrj@eng.chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanapon.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.