Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12434
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
Other Titles: Factors affecting the selection of product costing techniques in textile and clothing industries
Authors: วรงค์รักษ์ ทองบรรจบ
Advisors: วรศักดิ์ ทุมมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Vorasak.T@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า
การบัญชีต้นทุน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของกิจการกับเทคนิคาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์แต่ละเทคนิค รวมถึงระดับของการให้าความสำคัญต่อระบบต้นทุน ประโยชน์ที่ได้รับและปัญหาที่พบจากการใช้เทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งถึงผู้จักการฝ่ายบัญชีของกิจการจำนวน 124 แห่ง จากผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่มีรายชื่ออยุ่ในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 180 แห่ง โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อต้นทุนการผลิตรวม มีผลต่อการเลือกใช้เทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของกิจการกับเทคนิคการคำนวณต้นทุนในแต่ละเทคนิค พบว่า กิจการขนาดกลาง (ทุนจดทะเบียน 10-100 ล้านบาท) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตต่อต้นทุนการผลิตรวม ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ความมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน มีความสัมพันธ์กับเทคนิคการคำนวณต้นทุนระบบต้นทุนโดยประมาณ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหรรมเครื่องนุ่งห่ม ได้รับประโยชน์ในระดับสูงจากเทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และปัญหาที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส่วนใหญ่พบจากการนำเทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์มาใช้คือ เทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์มีความยุ่งยากในการปฏิบัติ และบุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้
Other Abstract: To emphasize significant factors affecting the selection of product costing techniques in textile and clothing industries, and to examine the relationship between the characteristics of textile and clothing companies of different product costing techniques, including the level of significant costing system, and the benefits and problems associated with product costing techniques as well. The study is based on data collection through a survey of each accounting manager in 124 companies out of 180 companies in textile and colthing industries, of which the data analysis is mainly involved with logistic regression analysis. According to the information analysis, the proportion of overthead to the total product costing mostly influences the selection of product costing techniques in textile and clothing industries. Moreover, the research of relationship between the charactristics of textile and clothing companies of different product costing techniques showed that the several factors, including medium enterprises (capital 10-100 millions baht), the proportion of overhead to the total product costing, diversified product and cost leadership strategy, relate to mix costing system (traditional costing system and activity based costing) using the estimated cost. This study found that companies in textile and clothing industries gain a lot of benefits from usind product costing techniques. Nevertheless, there are two main problems of product costing techniques. Firstly, product costing techniques are difficult to implement. Secondly, employees lack of enough knowledge about product costing techniques.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12434
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warongrak.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.