Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12882
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | ประยุทธ วรรณอุดม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-14T07:30:33Z | - |
dc.date.available | 2010-06-14T07:30:33Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12882 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการต่อรองของหมอลำและผู้ชมหมอลำที่มีต่อบทบาทและอิทธิพลของระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรม มีการวิเคราะห์ประเด็กหลัก 4 ประเด็น คือ 1. เส้นทางสายวัฒนธรรมของหมอลำมีการเปลี่ยนแปลงจาอดีตจนมาสู่ยุคอุตสาหกรรม วัฒนธรรมในปัจจุบัน ทำให้หมอลำอยู่ในวัฏจักรแบบอุตสาหกรรมทั้ง 3 ขั้นตอน คือ กระบวนการผลิต (Production) กระบวนการกระจายสินค้า (Distribution) และกระบวนการบริโภค (Consumption) หมอลำ 3 ประเภทย่อย (sub genre) ที่ยังคงอยู่รอดได้ในยุคอุตสาหกรรมวัฒนธรรม คือ หมอลำเรื่องต่อกลอน หมอลำแบบคอนเสิร์ต และหมอลำซิ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีแบบแผนการเลือกสรรทางวัฒนธรรมคล้ายกัน จึงทำให้เป็นสินค้าของระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรมได้ 2. ต้นทุนทางวัฒนธรรมของหมอลำมี 2 แบบคือต้นทุนที่เป็นรูปธรรม และต้นทุนที่เป็นนามธรรม ซึ่งหมอลำก็ต้องมีการสร้างและการครอบครองต้นทุน มีการรักษาและการ "ต่อยอด" ต้นทุน หมอลำ มีการใช้ต้นทุนเพื่อการต่อรองกับระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ขณะเดียวกันหมอลำก็มีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ต้นทุนทางวัฒนธรรมของหมอลำลดลง 3. การต่อรองของหมอลำ ซึ่งมีการต่อรอง 3 อย่างคือ การต่อรองด้านเพศ สภาพ ชนชั้นและเชื้อชาติ และจากการที่หมอลำมีต้นทุนทางวัฒนธรรมอยู่อย่างมากทั้งต้นทุนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม จึงเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้หมอลำสามารถต่อรองกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมได้ 4. การต่อรองของผู้ชมหมอลำ โดยการเป็นผู้ชมที่ชาญฉลาด สามารถต่อรองกับหมอลำในระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรมโดยการสร้างความหมายใหม่ และการวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะการแสดงหมอลำอย่างเป็นประชาธิปไตย ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยต้องการท้าทายทฤษฎีของอดอร์โนแห่งสำนักแฟรงเฟิร์ตและทฤษฎีของวอลเตอร์เบนจามินว่า ทฤษฎีตะวันตกไม่สามารถอธิบายปรากฎการ์ที่เกี่ยวกับหมอลำได้ครอบคลุมทุกอย่าง ดังนั้นผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้ทฤษฎีตะวันตกมาเป็นรากฐาน เพื่อสร้างทฤษฎีใหม่ให้เป็นทฤษฎีตะวันออก เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ของหมอลำและเกิดข้อค้นพบใหม่ (New finding) ว่า หมอลำที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงยุคอุตสาหกรรมวัฒนธรรมนั้น ต้องมีการรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง เช่น ศิลปะแบบหมอลำ การสร้างและสืบเชื้อสายผู้สืบทอดรุ่นใหม่ๆ มีการสร้างและการต่อยอดต้นที่มีอยู่ มีการสร้างความหมายใหม่เพื่อการต่อรองทางความหมาย และมีการแตกตัวทางวัฒนธรรม โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรม องค์ประกอบทางวัฒนธรรมต่างๆ ดังกล่าวมีการยึดโยงกันอยู่อย่างเหนี่ยวแน่นคล้ายกับรังผึ้ง จึงจะทำให้หมอลำสามารถต่อรอง และยืนหยัดอยู่ในท่ามกลางกระแสอุตสาหกรรมวัฒนธรรมได้ ผู้วิจัยจึงเรียกข้อค้นพบที่จะทำให้หมอลำคงอยู่ได้นี้ ว่า "ทฤษฎีรังผึ้ง". | en |
dc.description.abstractalternative | This study investigated four domains of negotiation processes between Mawlum performers and its audience. The study found that the negotiation created the impact upon the cultural industry of Mawlum shows. The four domains of negotialtion are as follows: 1. Due to the transition of traditional Maulum to respond to the rules of present day cultural industry, Mawlum entered the three circles of industrial production, distribution and consumption. The three Mawlum sub genres that survive in the age of cultural industry are "Mawlum Ruaeng tor klon", "Mawlum Concert" and "Mawlum Sing." 2. The two cultural capitals of Mawlum can be classified into the tangible one and the intangible one. These capitals are continuously created, occupied, maintained and extended. The capitals serve as tools to negotiate with the system of cultural industry. However, certain cbstacles that Mawlum encounters bring a decrease upon its capitals.3. There are three factors involved in the negotiation processes of Mawlum show, namely, gender, class and race. The large amount and variety of capitals Mawlum possesses, both the tangible and the intangible ones, empower Mawlum in the negotiation with the cultural industry. 4. The negotiation from the wise and smart audience with Mawlum shows in the cultural industry by means of liberal expressions of comments and criticism helps create new meanings on the Mawlum cultural practice. In This study. The theory of "Culture industry" by T. Adorno of Frankfurt School and the theory of Walter Benjamin on culture were challenged. Because the cultural theories proposed by the two influential thinkers and philosophers from the west are not sufficient to encompass and cannot render a thorough explanation on the cultural industry phenomena in the eastern hemisphere. Therefore, the adaptation and adjustment of the cultural theories originated in the west were done to respond to the particularities of eastern cultural context. The findings. Maybe not particular to Mawlum, were that for Mawlum to survive in the changing and the fast-moving cultural industry, Mawlum artists need to maintain the original cultural roots, which means the art of Mawlum, to create Mawlum successors, to pass on the arts to the younger generations of Mawlum artists, to build and extend its cultural capitals, to keep open the means of negotiation for new menings, to propagate the cultural practice of Mawlum, and the ultimate goal of Mawlum art, to be free from the hold of cultural industry as much as possible. All of the Mawlum cultural elements are firmly connected with and rely on one another for the art to survive and thrive. The interconnectedness and the interdependency of these elements are similar to the elements that form a honeycomb. As a consequence, the finding in this study. Which offers a thorough explanation of the elements contributing to the survival and growth of Mawlum in the age of cultural industry, is thus named "The Honeycomb Theory". | en |
dc.format.extent | 5417872 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.19 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หมอลำ | en |
dc.subject | สื่อพื้นบ้าน -- ไทย | en |
dc.subject | วัฒนธรรมมวลชน -- ไทย | en |
dc.subject | วัฒนธรรม -- แง่สังคม | en |
dc.subject | วัฒนธรรม -- แง่เศรษฐกิจ | en |
dc.title | กระบวนการต่อรองของหมอลำและผู้ชมหมอลำที่มีต่อบทบาทและอิทธิพลของระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรม | en |
dc.title.alternative | Negotiation process of "Mawlum" and its audiences regarding the roles and infuences of culture industry system | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kanjana.Ka@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.19 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayut_Wa.pdf | 5.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.