Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12953
Title: ความเครียดของพนักงานที่ย้ายฐานปฏิบัติการจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
Other Titles: Stress on airport employees moving operations base from Donmuang International Airport to Suvarnabhumi International Airport
Authors: ฉัตรสุดา ส่องแสงเจริญ
Advisors: อัมพล สูอำพัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Umpon.S@Chula.ac.th
Subjects: ความเครียดในการทำงาน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงระดับความเครียดของพนักงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียดของพนักงาน หลังย้ายฐานปฏิบัติการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ทำการศึกษาจากตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ได้ย้ายฐานปฏิบัติการจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 391 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิอย่างเป็นระบบ (Stratified Systematic Sampling) จำแนกพนักงานตามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ ฝ่ายครัวการบิน ฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น ฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น ฝ่ายช่าง และฝ่ายปฏิบัติการ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนั้นผู้วิจัยได้ใช้แบบสำรวจโดยแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน คือ แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบวัดความเครียด และแบบวัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด จากนั้นวิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายข้อมูลส่วนบุคคล สถิติอนุมาน (Inductive Statistic) ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย การทดสอบความสัมพันธ์กัน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่อิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความแตกต่างรายคู่ และการวิเคราะห์การถดถอย สำหรับการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ร้อยละ 42.2 มีความเครียดระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดหลังการย้ายฐานปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p<0.01) ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านอาคารปฏิบัติงาน อายุงาน และฝ่ายงาน ในขณะที่รายได้ต่อเดือน ความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) นอกจากนั้นยังพบว่าเพศ อายุ สถานภาพทางเศรษฐกิจ อายุงาน และฝ่ายงาน ที่แตกต่างกันนั้นยังส่งผลให้ค่าเฉลี่ยคะแนนความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p < 0.01) อีกด้วย สำหรับสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาคารปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันส่งผลให้คะแนนความเครียดเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และทิศทางของปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดหลังย้ายฐาน พบว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ความเพียงพอของพื้นที่ให้บริการกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ความพร้อมด้านเทคโนโลยีของสถานที่ทำงาน ความเพียงพอของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ความเหมาะสมของอุณหภูมิของสถานที่ทำงาน และความพร้อมของบริเวณที่ทำงานภายนอก มีอิทธิพลต่อคะแนนความเครียดอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p < 0.01) ในขณะที่และความปลอดภัยภายนอกอาคาร มีอิทธิพลต่อคะแนนความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ระยะทางที่ใช้ในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงาน และสภาพการจราจรระหว่างที่พักถึงที่ทำงาน มีอิทธิพลต่อคะแนนความเครียดอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p < 0.01) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อคะแนนความเครียดในทิศทางบวกทั้งสิ้น และปัจจัยทั้ง 10 ปัจจัยนี้จะเป็นปัจจัยที่ใช้ในการพยากรณ์ หรือประมาณค่าคะแนนความเครียด ซึ่งมีร้อยละของความสามารถในการพยากรณ์เป็น 92.5
Other Abstract: The objective of this research is to study the stress on airport employees and the factors which relate to the stress on airport employees after the operations base was moved from Donmuang International Airport to Suvarnabhumi International Airport. The samples are Employees of Thai Airway Co, Ltd., (Public) who was moved from Donmuang International Airport to Suvarnabhumi International Airport at least 6 months. This research uses Stratified Systematic Sampling method for sampling 391 samples and separates the employees by department as follows, Cargo and Mail Commercial, Catering, Ground Customer Services, Ground Support Equipment Services, Technical and Operations Department. For the resources, this research uses survey method to gathering data by questionnaire. There are 3 parts of questions, General Personal Data, Stress measurement and Specify the situation that was occurred the stress. Thence analyzed with Descriptive Statistic, namely frequency, percentage, mean and standard deviation, to explain Personal Data. Inductive Statistic was used for Hypothesis test, namely Chi-Square, Two independent samples T-test, ANOVA, Duncan and Regression analysis. The research results were demonstrated as follows. Most of samples (42.2%) have stress in high level. Personal factors which correlated highly significant (p<0.01) with the stress on airport employees after moving the operation base are sex, age, married status, education level, economic status, operation buildings, employment age and department. Meanwhile monthly income correlated to stress level significantly (p<0.05). Besides the results ware found that sex, age, economic status, employment age and department which are different will affect to the different mean score significantly (p<0.01). For the different married status, monthly income and operation buildings will affect to different average stress score significantly (p<0.05). For the environment analysis result and the direction of factors which effect to stress levels after moving the operation base found that physical environment factor such as the sufficient of service area and airport customer demand, the ready of technology for the working area, the sufficient of working instrument, the suitable of temperature at working area and the ready of outside working area influenced to stress score in highly significant (p<0.01). Meanwhile the safety outside operation building influenced to stress score significantly (p<0.05). The transportation distance, transportation expense, time spending from home to office influenced to stress score in highly significant (p<0.01) which all factors effected to stress score in positive direction. Furthermore these 10 factors will be the factors forecast or estimate the stress score which have 92.5% of forecast capability.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12953
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.435
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatsuda.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.