Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12992
Title: การออกแบบเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายในสื่อดีวีดีภาพยนตร์
Other Titles: Content design of special feature and extended feature for movies on DVD
Authors: เจริญพงศ์ ศรีสกุล
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ดิจิตอลวิดีโอ
ภาพยนตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการใช้เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความสำคัญของสื่อดีวีดีภาพยนตร์ที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยาย รวมทั้งทราบถึงลักษณะเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม และเนื้อหาที่ควรลดทอนโดยมีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีสื่อดีวีดี ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท และการสัมภาษณ์โครงความคิดของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อทราบถึงลักษณะเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมในสื่อดีวีดีภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่าสื่อดีวีดีภาพยนตร์กำหนดเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายได้จากลักษณะของสื่อดีวีดีในฐานะสื่อดิจิตอล ซึ่งมีผลต่อเนื้อหาในด้านการเข้าถึงข้อมูล และการควบคุม และจากลักษณะของสื่อดีวีดีในฐานะสื่อบันทึก ซึ่งมีผลต่อบริบทของการชมซึ่งมีความเป็นส่วนตัว มากขึ้นทำให้เนื้อหาต้องมีความหลากหลาย และเหมาะสมกับการใช้งานของสื่อ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบสร้างสรรค์เนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายใหม่ที่สอดคล้องกับสื่อดีวีดีภาพยนตร์อย่างเป็นระบบ ด้วยการผสานองค์ประกอบหลัก 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ลักษณะของตัวบทภายใต้กรอบทฤษฎี ซึ่งประกอบด้วยการเชื่อมโยงตัวบท, ปรสิตของตัวบท, อัตตะของตัวบท, ทุติยบท และพันธุบท และลักษณะความต้องการเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายของผู้ชมดีวีดีภายนตร์ซึ่งได้จากการศึกษาโครงความคิดของผู้ชม ทำให้สามารถพัฒนาเนื้อหาใหม่ที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับสื่อดีวีดีภาพยนตร์ รวมจำนวน 55 ชิ้นงาน นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะการเป็นปรสิตของตัวบทของเนื้อหาส่วนควบ และการเป็นตัวบทร่วมของเนื้อหาส่วนขยาย อยู่ภายใต้เงื่อนไขคือความสนใจของผู้ชม ซึ่งมีความเป็นผู้กำหนดการชมดีวีดีภาพยนตร์
Other Abstract: This qualitative research aims to study the way DVD medium determines its special feature and extended feature and to design the additional special and extended features which are consistent to DVD characteristics. Textual analysis and Repertory Grid quantitative tool are used to explore personal constructs of 5 key informants who expertise in special feature and extended feature. Results indicate that DVD contents are determined from their medium. DVD, as a digital medium, affects contents on accessing and controlling. On the other hand, its another aspect, as a recorded medium, affects contents by changing context of use to personal viewing. Consequently, DVD contents have to be various and suit to DVD usage. To design the new features, researcher systematically create special features and extended features to fit their potential DVD medium from combinations generated from two elements, theoretical framework of transtextuality, which intertextuality, paratextuality, metatextuality, hypertextuality and architextuality are included, and the content from the viewer’s needs gained from analysis of Repertory Grid interview. As a result, 55 new special features and extended features are created. Besides, the results show that, in any content, the status of special feature, as a paratext, and extended feature, as a co-text, is under active viewer’s interest.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12992
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1215
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1215
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaroenpong_sr.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.