Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13064
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ | - |
dc.contributor.author | หวานทิพย์ พงษ์ประพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-07-20T05:06:23Z | - |
dc.date.available | 2010-07-20T05:06:23Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13064 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | บ้านเป็นปัจจัยสี่ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่อาศัย คุณภาพชีวิตตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้การหาบ้านที่อยู่แล้วสุขสบาย ประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย ราคาถูก ตอบสนองความต้องการของสังคมจึงกลายเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งยังต้องสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมด้วย บ้านสู้โลกร้อน คือบ้านที่ตอบปัญหาโลกร้อน การประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างน้อย ความสวยงาม ความทันสมัย ส่งเสริมค่านิยมของผู้อยู่อาศัย และคุณภาพชีวิตดีขึ้น สำหรับเรื่องเทคนิคการออกแบบบ้านสู้โลกร้อน เป็นเรื่องยากที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการประชาสัมพันธ์โดยการเลือกสื่อที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบ้านพักอาศัย ถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบบ้านสู้โลกร้อน การวิเคราะห์สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ของบ้านพักอาศัย รวมทั้งเสนอรูปแบบการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์บ้านพักอาศัย ในการทำวิจัยจึงเป็นการแสวงหาเทคนิคต่างๆเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น โดยกระบวนการวิจัยจึงเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูล การไปสำรวจยังสถานที่จริง การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาใช้กับการนำเสนอสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ผลจากการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า 27% ความต้องการบ้านพักอาศัยมีพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตร ราคาประมาณ 1-1.5 ล้านบาท 43.5% ต้องการบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ดังนั้นแนวความคิดบ้านสู้โลกร้อน มีราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท มีรูปทรง รูปแบบของบ้านความสวยงาม ผังพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน และวัสดุที่ใช้ก่อสร้างที่เหมาะสม จากสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อบุคคล และสื่อกิจกรรมต่างๆ โดยการเลือกใช้สื่อต่างชนิดกัน ย่อมมีผลต่อการรับรู้ที่ต่างกัน จากกรณีศึกษาบ้านสู้โลกร้อน สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์บ้านพักอาศัยและมีผลต่อการรับรู้มากที่สุด คือสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ โบรชัวร์ สื่อโทรทัศน์ ที่มีทั้งภาพและเสียง ถึงแม้การลงทุนสูง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก และในอนาคตสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการนำเสนอข้อมูลบ้านพักอาศัย เพราะเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากปัจจุบัน | en |
dc.description.abstractalternative | A house is one of the four necessities which has an influence on one's way of living, quality of life and costs incurred in one's daily life. Therefore, it is difficult to find a house that is comfortable, energy-saving, cost-saving, and inexpensive and that meets with the public's needs. Especially, one that is environmentally-friendly. An eco-home is a house that responds to the matters of global warming, energy saving, low costs of construction, beauty, and modernity. It also helps to promote good taste and enables the people who live in the house to have a healthier life quality. The technique to design an eco-home is hard for the general public to understand. Therefore, publicity through proper media is essential. The research focused on studying the types of housing publication media, knowledge transfer in the area of designing eco-homes, analysis of housing publication media and recommendations for selecting effective housing publication media. To accomplish the said objectives, various techniques were used in the research, including data collecting, surveying the house locations, interviewing, using questionnaires, and analyzing data for use in the research presenting housing publication media. It was found that 27% prefers 1-1.5 million baht of 150 square meter house and 43.5 percents prefers less than 1 million baht. Therefore, eco home with shapes, design, beauty, floor plans, construction materials meets 70.5 percents of the need. Television media is the most appropriate among four types of media; print media, audio-visual media, personal media and activities media. It was found that print media worked best for advertising an eco-home and affected the reception of the audience the most. It helped create understanding and give details of the house. Print media includes brochures. In addition, television media which has both image and sound costs a lot in investment but it can reach the target groups easily. The demonstration of their efficiency and the opportunity to see the model eco-homes help the audience to understand the details of the houses better. In the future, the internet is an interesting alternative media to advertise houses because it is currently popular. | en |
dc.format.extent | 5811211 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.383 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความต้องการที่อยู่อาศัย | en |
dc.subject | บ้านประหยัดพลังงาน | en |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย -- การประชาสัมพันธ์ | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน | en |
dc.title | รูปแบบนำเสนอสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์บ้านพักอาศัย กรณีศึกษาบ้านสู้โลกร้อน | en |
dc.title.alternative | Housing publication media model : a case study of an eco home | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vorasun.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.383 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waantip_po.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.