Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13101
Title: | การนำเสนอยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต |
Other Titles: | Proposed education strategies for the development of community process in preventing corruption |
Authors: | ประวีณา ชะลุย |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ชนิตา รักษ์พลเมือง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pruet.S@chula.ac.th Chanita.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ -- การป้องกัน การพัฒนาชุมชน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต 2) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตด้วยกระบวนการชุมชน 3) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการศึกษาภาคสนามองค์การบริหารส่วนตำบล 3 แห่ง โดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวแทนสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล และตัวแทนประชาชน/กลุ่มองค์กรที่อยู่ในชุมชนของ อบต. 3 แห่ง ส่วนการนำเสนอยุทธศาสตร์การศึกษา ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการทุจริต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ทำการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม แล้วนำยุทธศาสตร์ที่เสนอไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. กระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต มีดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และ 3) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาตำบล 2. ยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตโดยกระบวนการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ มี 9 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การร่วมเป็นภาคีการพัฒนาแบบองค์รวม 2) ยุทธศาสตร์การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ยุทธศาสตร์การสร้างประชาคมที่มีความสามารถแยกแยะคนดีจากคนไม่ดี 5) ยุทธศาสตร์รวมพลังเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต 6) ยุทธศาสตร์การสร้างตำบลเข้มแข็งพอเพียง 7) ยุทธศาสตร์การสร้างพลังภาคประชาชนผ่านการประชุมเวทีประชาคม 8) ยุทธศาสตร์การสร้างความคุ้มครองผู้ต่อสู้กับการทุจริต และ 9) ยุทธศาสตร์การให้การศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชน 3. ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อสร้างสำนึกพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 2) ยุทธศาสตร์การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดี 3) ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยความโปร่งใสและ 4) ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to analyze a community process in preventing corruption of sub-district administrative organizations (SAOs); 2) to propose preventing corruption strategies based on community process; and 3) to propose education strategies for the development of community process in preventing corruption. The researcher employed qualitative methodology and field research in 3 SAOs using participatory observation, non-participatory and in-depth interview with key informants who were representatives from the SAOs as well as leaders and members of the communities. Educational strategies were proposed by means of content analysis, SWOT analysis, and interviews with expert's corruption prevention, community development and education. The proposed strategies were then re-examined by the experts. Research findings were as follows: 1. Community process in preventing corruption requires public participation in 1) The 3-year SAO development plan; 2) procurement process; and 3) sub-district development activities. 2. Strategies for community process in corruption prevention consisted of 1) holistic participatory development strategy; 2) communication and public relations strategy; 3) environment building for interactive learning strategy; 4) strategy of building strong civic society to separate the "Good" and "Bad"; 5) strategy to synergize people network for preventing corruption; 6) strategy in developing strong sub-district and self-sufficiency; 7) strategy to empower people through community meeting; 8) strategy for the protection of the anti-corruption; and 9) education strategy to empower the community members. 3. Education strategies for developing community process in corruption prevention were 1) education strategy for civic consciousness in participatory democracy; 2) campaign and public relations strategy to promote "anti-corruption" values; 3) education strategy for local development with transparency; and 4) education strategy for strengthening the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13101 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.781 |
ISBN: | 9741426712 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.781 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praweena_Ch.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.