Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13137
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้องของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Information exposure, knowledge, attitude and brown rice consumption among Bangkok pepple
Authors: ศศิวิมล ตามไท
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@Chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับสื่อมวลชน
พฤติกรรมผู้บริโภค
ข้าวกล้อง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคข้าวกล้อง กับพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้องของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test One-Way ANOVA ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวกล้องแตกต่างกัน 2. ประชาชนที่มีระดับการศึกษาและอาชีพแตกต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้องแตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวกล้องมีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับข้าวกล้อง 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวกล้อง ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคข้าวกล้อง 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวกล้องมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้อง 6. ตัวแปรที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้อง เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สื่อบุคคล อาชีพค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคข้าวกล้อง การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวกล้อง เพศ และสถานภาพโสด
Other Abstract: To study the correlations between media exposure, knowledge, attitude and brown rice consumption among people in Bangkok. Questionnaires were used for data collection from a total of 408 samples. Percentage, mean, t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis were used for data analysis. The results of the study are as follows: 1. People with different sex, age, education and income are significantly different in information exposure about brown rice. 2. People with different education and occupation are significantly different in brown rice knowledge, attitude and consumption. 3. Information exposure on brown rice is significanty correlated correlated with knowledge about brown rice. 4. Information exposure on brown rice is not significantly correlated with attitude toward brown rice consumption 5. Information exposure on brown rice is significantly correlated with brown rice consumption. 6. The variables best explained brown rice consumption, sorted by most important ones are interpersonal contact, occupation, attitude in brown rice consumption, information exposure on brown rice, gender and marital status.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13137
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.314
ISBN: 9743337938
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.314
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwimon_Ta_front.pdf536.5 kBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_ch1.pdf713.28 kBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_ch2.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_ch3.pdf538.31 kBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_ch5.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimon_Ta_back.pdf696.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.