Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13214
Title: แนวทางการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก ในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Guidelines for building renovation to follow the access to public facilities for disabled persons regulations B.E. 2548 : a case study of Chulalongkorn University
Authors: ช่อเพชร พานระลึก
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
พรพรหม แม้นนนทรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vtraiwat@chula.ac.th
pornprom.m@chula.ac.th
Subjects: สถาปัตยกรรมกับคนพิการ
คนพิการ
สถาบันอุดมศึกษา -- สิ่งอำนวยความสะดวก
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลังจากกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ก่อให้เกิดผลต่ออาคารสาธารณะเป็นอย่างมาก เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในอาคารบริเวณที่เปิดให้แก่บุคคลทั่วไปของอาคารประเภทและลักษณะ สถานศึกษา หอสมุด และพิพิธภัณฑสถาน ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่มีอาคารตามที่กำหนด ถึงแม้ว่ากฎหมายใหม่ไม่มีผลย้อนหลังกับอาคารเดิม แต่เนื่องจากตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบาย มุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางในระดับนานาชาติและได้รับนโยบายใ นการให้ความร่วมมือจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาจัดสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว การศึกษานี้ เน้นผลในเรื่องคุณลักษณะทางด้านกายภาพและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาแนวทางในการดำเนินการ จึงมีการดำเนินการศึกษา 2 ช่วง คือ ช่วงการสำรวจเพื่อสร้างแบบของแนวทางปรับปรุงอาคารเพื่อใช้สัมภาษณ์ และช่วงการสัมภาษณ์ ในการสำรวจอาคารกรณีศึกษามี 8 อาคาร เป็นอาคารการศึกษาส่วนกลาง ได้แก่ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ อาคารพินิตประชานาถ อาคารเรียนศูนย์มหิตลาธิเบศร อาคารประเภทชุมนุมคน ได้แก่ อาคารศาลาพระเกี้ยว อาคารจุลจักรพงษ์ หอประชุมจุฬาลงกรณ์และอาคารประเภทสนามกีฬา ได้แก่ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนามกีฬาในร่ม หลังจากที่ได้เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจ ขั้นต่อมาได้นำข้อมูลที่ได้สร้างแบบแนวทางปรับปรุงอาคารไปใช้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 สถาปนิกและผู้ทรงคุณวุฒิ, กลุ่มที่ 2 เจ้าของโครงการ และกลุ่มที่ 3 ผู้ใช้อาคาร จากการศึกษาพบว่า อาคารกรณีศึกษามีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแปรผกผันกับอายุอาคาร ซึ่งมีกฎหมายแต่ยุคสมัยเป็นตัวแปรสำคัญ จากการสัมภาษณ์พบว่าควรปรับปรุงอาคารกรณีศึกษา ให้เป็นไปตามรูปแบบที่ใช้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการใช้งานจริง โดยคำนึงถึง 1. บริเวณภายนอกเพื่อให้เข้าถึงตัวอาคาร ได้แก่ บริเวณทางเข้าที่สะดวก ที่จอดรถ และป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก 2. การเข้าถึงอาคารเพื่อนำไปสู่การใช้บริการภายในต้องมี ทางลาด บันได หรือลิฟต์นั้นแล้วแต่กรณี 3. ภายในอาคารจำเป็นต้องมีห้องน้ำ-ห้องส้วมไว้บริการจำนวนหนึ่ง และบางพื้นที่มีข้อจำกัดที่ผู้พิการที่ใช้เก้าอี้ล้อไม่สามารถใช้ก็สามารถยอมรับได้ นอกจากนี้ผู้พิการทางสายตาในกรณีศึกษามีความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงพื้นผิวต่างสัมผัสภายในอาคาร แต่ควรมีแนวเตือนที่พื้นเพื่อให้ระวังในระดับศีรษะ แนวทางการปรับปรุงอาคารกรณีศึกษา ให้เป็นไปตามความจำเป็น เนื่องจากต้องพิจารณาด้านงบประมาณด้วย การปรับปรุงที่พบมี 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เพิ่มป้าย-สัญลักษณ์ ที่จอดรถ ได้แก่ อาคารมหิตลาธิเบศร ระดับที่ 2 เพิ่มป้าย-สัญลักษณ์ ที่จอดรถ ปรับปรุงห้องน้ำ-ห้องส้วม ด้วยการติดตั้งราวจับและปรับบริเวณที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ อาคารพินิตประชานาถ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ศาลาพระเกี้ยว, ระดับที่ 3 จัดให้มีองค์ประกอบตามระดับที่ 2 และจัดพื้นที่ให้ผู้พิการนั่งชมกีฬาได้โดยไม่รู้สึกแปลกแยกในอาคารสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับที่ 4 ปรับตามองค์ประกอบระดับที่ 2 เพิ่มทางลาด ได้แก่ อาคารจุลจักรพงษ์ อาคารสนามกีฬาในร่ม อาคารหอประชุมจุฬาลงกรณ์ฯ นอกจากนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้พิการ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาควรจัดให้มีผังป้ายแบบ 3 มิติ ให้สามารถสัมผัสได้ และในภาพรวมเพื่อก้าวสู่ความสากลเสนอแนะว่า ควรมีนโยบายเปิดรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษาด้วย เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนระบบภายในสังคมได้ต่อไป
Other Abstract: After the Access to Public Facilities for Disabled Persons Regulations B.E. 2548 was introduced, it was put into effect for public buildings. This is because access to buildings used for education, libraries and museums must have public facilities for the disabled and elderly. Chulalongkorn University is an educational building types, which has to participate in this policy although the building code has no reverse effect, and has no target to the international center followed by university development plan. This is the reason why there needs to be facilities for disabled persons. This study concentrated on physical properties and opinions. The study comprised 2 steps: 1) survey to create structure for the interviews period, and 2) the interviewing period. Eight buildings were used for the case study, which are the education center buildings of Mahatherarajanusorn, Bhinitprachanart, and Mahittalatibetara; The community buildings of Sala phra kieo, Chunlachakrapong, and Chulalongkorn Main Auditorium. The stadiums of Chulalongkorn Stadium and Indoor Stadium. Data was gathered on all buildings by survey and also the data from the interviews of 3 groups of people – architects, building owners, and building users. The study found that the public facilities for disabled reverse to building age, because of the regular from each period is the important factor in case study. From the interview data, it was found that the case study buildings should improve the pattern of usage and give the following further consideration. First, the access from the outdoor area to inside the building should have a convenient entrance, parking lot, and signs. Second, the accessibility of the building should include ramps, stairs or litts depending on each case. Third, inside the building there should be toilet for the disabled. However, there are exceptions for some limited areas where this cannot be done for those in wheelchairs. In this study, the visually impaired gave their opinions about the buildings. They think that the warning boxes do not need improving in all areas but they do need warning boxes for head level awareness. The guidelines for building renovation in this case study depend on the necessity, which follow from 4 levels of budget. Level 1: increase signs usage and disabled parking lot in Mahittalatibetara. Level 2: increase disabled parking lot,and improve restroom fixing handrails in there and other places, in bhinitprachanart, Mahatherarajanusorn, and Sala phra kieo. Level 3: should to do the things in Level 2 and improve the seats for disabled persons in Chulalongkorn Stadium. Level 4: should do everything in Level 2 and increase the ramp availability, in Chunlachakrapong Indoor Stadium, and Chulalongkorn Main Auditorium. The university should promote policy and give information to disabled persons, especially for those visually impaired who should get 3 dimension billboards for touching. In order to become an international center, there should be policy regarding the disabled studying in university, and it is recommended as it is good for social system motivation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13214
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.125
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.125
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chorpech.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.