Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13841
Title: ผลของการใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ต่ออัตราการกลับมารักษาซ้ำ และความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวาน และความพึงพอใจในงานของพยาบาล
Other Titles: Effects of discharge planning and telephone folow up on re-admission and nursinf service satisfaction of diabetic patients, and nurses' job satisfaction
Authors: อ่อนน้อม ธูปะวิโรจน์
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: yupin.a@chula.ac.th
Subjects: เบาหวาน
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
ความพอใจของผู้ป่วย
พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ ต่ออัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวาน ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 70 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนครศีรอยุธา ศึกษาแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group posttest only design) ได้แก่ กลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับบริการตามปกติที่หอผู้ป่วย จำนวน 35 คน กลุ่มทดลองเป็น ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ จำนวน 35 คน 2) กลุ่มตัวอย่างพยาบาล คือ บุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 35 คน โดยศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง (One group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) คู่มือการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) โครงการอบรมเรื่อง การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยและการติดตามการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานทางโทรศํพท์ เพื่อการพยาบาลที่มีคุณภาพ 3) คู่มือการสอนเรื่องโรคเบาหวานสำหรับพยาบาล 4) คู่มือการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านสำหรับผู้ป่วย 5) แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวาน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจบริการพยาบาลของผู้ป่วย และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล เครื่องมือการวิจัยทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามความพึงพอใจบริการพยาบาลของผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ใช้การวางแผนจำหน่าย และการติดตามทางโทรศัพท์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการพยาบาลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ใช้การวางแผนจำหน่าย และการติดตามทางโทรศัพท์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลระยะที่ใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ สูงกว่าระยะที่ใช้การบริการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยแสดงว่า ผลการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ สามารถลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวาน และเพิ่มความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยและความพึงพอใจในงานของพยาบาล
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research was to study effects of discharge planning and telephone follow up on re-admission of diabetic patients, patients’ satisfaction of nursing service and nurses’ job satisfaction. Subjects were 70 patients were purposively assigned to an experimental group or a controlled group, 35 in each group. The experimental group received nursing care using the discharge planning and telephone follow up. The control group received routine nursing care. The research instruments included the discharge planning and telephone follow up, project discharge planning and telephone follow up for quality of nursing care and a handbook the discharge planning and telephone follow up with nursing service satisfaction questionnaire and nurses’ job satisfaction questionnaire. All research instruments were tested for content validity by a panel of five experts. The re-admission questionnaire, patients’ satisfaction of nursing service questionnaire and nurses’ job satisfaction questionnaire had Cronbach’s alpha coefficient of 0.98 and 0.95, respectively. All data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. Majors results were as follows: 1. Re-admission rate in diabetic patients who received the discharge planning and telephone follow up were less than that of the diabetic patients who received routine nursing care, at the 0.5 level. 2. Patients’ satisfaction of nursing service who received the discharge planning and telephone follow up were significantly higher than that of the diabetic patients who received routine nursing care, at the 0.5 level. 3. Nurses’ job satisfaction after discharge planning and telephone follow up was significantly higher than before discharge planning and telephone follow up, at the 0.5 level. This result suggest that discharge planning and telephone follow up affect on re-admission of diabetic patients, patients’ satisfaction of nursing service and nurses’ job satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13841
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1753
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1753
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onnom_Dh.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.