Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13856
Title: | แนวทางการพิจารณาภาพสถาปัตยกรรมทางด้านสุนทรียภาพ |
Other Titles: | An approach for aesthetics consideration of architectural presentations |
Authors: | วีรเลิศ อมิตรพ่าย |
Advisors: | สุนทร บุญญาธิการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th |
Subjects: | สุนทรียภาพ การรับรู้ การรับรู้ทางสายตา ทัศนียภาพวิทยา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สุนทรียภาพหรือความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่งาม มีความสำคัญต่อการรับรู้และความประทับใจของมนุษย์ แต่เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนโดยมีตัวแปรที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกอยู่มากจุดประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อทำการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อค่าน้ำหนักความพึงพอใจทางสุนทรียภาพ โดยตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเน้นจุดเด่นโดยสี การเน้นจุดเด่นโดยความเปรียบต่างของแสง การเน้นจุดเด่นโดยทิศทาง การบดบัง ความแบนราบกับความลึก ขนาดภาพกับพื้นภาพ ความสดของสี และความพร่ามัวกับความชัดเจน วิธีวิจัยคือ การนำตัวแปรที่เกี่ยวข้องทางสุนทรียภาพ มาใช้ประกอบการเก็บข้อมูลโดยการทำแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ สร้างสมการทำนายตัวแปรและกำหนดค่าน้ำหนัก โดยใช้วิธีการทำแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยคนในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและการมองเห็นภาพสถาปัตยกรรมมาพอสมควร การทดสอบทำโดยการดูภาพที่ผู้วิจัยคัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมองเห็นร่วมกันของกลุ่มตัวอย่าง และให้คะแนนความพึงพอใจที่ 1 ถึง 10 คะแนน เพื่อนำผลที่ได้เข้าสู่กระบวนการทางสถิติต่อไป ผลการวิจัยกระบวนการทางสถิติ พบว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมด 5 ตัว จากสมการถดถอยเชิงพหุ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลทางสุนทรียภาพสูงสุด คือ การเน้นจุดเด่นโดยความเปรียบต่างของแสง ความสดของสี รองลงมาคือ กลุ่มปัจจัย ขนาดภาพกับพื้นภาพ การบดบัง และการเน้นจุดเด่นโดยทิศทาง มีอิทธิพลน้อยลงมา โดยให้ความสำคัญเรียงตามลำดับอิทธิพลของกลุ่มปัจจัย การที่จำนวนตัวแปรน้อย ช่วยลดความซับซ้อนในการพิจารณาภาพเพื่อเป็นประโยชน์ในเบื้องต้น สำหรับการพิจารณาภาพสถาปัตยกรรมทางสุนทรียภาพ โดยที่ความน่าเชื่อถือ 62% ยังมีตัวแปรอื่นซึ่งมีความสำคัญต่อการพิจารณาทางสุนทรียภาพ ที่ไม่ได้นำมาใช้ในการวิจัยนี้ ซึ่งตัวแปรที่อยู่นอกเหนือการวิจัยโดยจะแปรเปลี่ยนไปตามรูปแบบของภาพสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป |
Other Abstract: | Aesthetics is related to the sense of beauty that plays an important role in man’s perceptions and impressions. It is a sensitive issue in architecture because it involves many variables which can affect architectural aesthetics. The objective of this research is to study of the variables that have the most effect to human’s sense of aesthetics. Such variables are emphasis with color, emphasis with brightness contrast, emphasis with direction, opaqueness, flatness and depth, scale of object with background, color saturation and diffusion and sharpness. The study was conducted by using a questionnaire based on the related variables. The data were collected and analyzed by using the multiple regression equation to determine their relationship and the equation which could predict variables. Marks were assigned by using a questionnaire. The qualification of the subjects was at least at the tertiary level. They had some architectural background and were familiar with architectural presentations. They were asked to look at the presentations created by the researcher and then they had to assign marks for each presentation to show their appreciation and scale on 1 to 10 scores. The subjects had never seen these presentations before. The data were statistically analyzed. In this study, It was found that only 5 selected variables from multiple regression model that emphasis with brightness contrast and Color saturation ranked highest. Scale of object with background, opacity and emphasis with direction ranked next group. These variables were classified into two groups and used as an approach for the aesthetic consideration of architectural presentations. An architectural presentation with variables ranked sequence by effective that small number of variables could be reduce complexity for improve such presentation, architectural aesthetics must be added. This R-square is 0.62. For other variables did not consider in this study because this variables vary on application of architectural presentations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13856 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.120 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.120 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weeralert_Am.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.