Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13866
Title: | แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีสยาม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต |
Other Titles: | Design guidelines for public areas around BTS's National Stadium, Siam, Chit Lom and Phloen Chit stations |
Authors: | ยุทธภูมิ เผ่าจินดา |
Advisors: | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร มาร์ค อิศรางกูร ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Terdsak.T@Chula.ac.th Mark.I@Chula.ac.th |
Subjects: | พื้นที่สาธารณะ การขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า ย่านการค้ากลางใจเมือง สถานีรถไฟฟ้า |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการเปลี่ยนแปลงและหาแนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะ โดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีสยาม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่สาธารณะ (public areas) โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสี่สถานี 2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางกายภาพที่เกิดขึ้นกับพื้นที่สาธารณะ (public areas) โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสี่สถานี 3) เพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและปรับปรุงทางกายภาพบริเวณพื้นที่สาธารณะ (public areas) โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสี่สถานี การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจและการสังเกต จากการศึกษาพบว่า พื้นที่สาธารณะบริเวณโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงมากภายหลังจากการเกิดขึ้นของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สาธารณะในระดับที่สองที่เกิดขึ้นตามมากับระบบรถไฟฟ้ายกระดับ รวมถึงกิจกรรมที่ตามมาในพื้นที่สาธารณะในระดับที่สองที่เกิดขึ้น เช่นกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรระหว่างระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส กับระบบเดิมที่ระดับพื้นดิน การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการค้าของแต่ละย่านบนพื้นที่ศึกษาด้วยพื้นที่สาธารณะใหม่ที่เกิดขึ้น และการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการสัญจร กิจกรรมการค้า และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นซ้อนทับกันในพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ทั้งสี่สถานี แนวทางในการออกแบบพื้นที่สาธารณะบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่เดิม กิจกรรมและระบบการขนส่งยกระดับ ดังนี้ 1) วางผังแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกันระหว่างระบบขนส่งมวลชนกับพื้นที่โดยรอบ 2) แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะและกิจกรรมทั้งระดับพื้นดิน ระดับที่สองหรือระดับที่สูงขึ้นไป 3) แนวทางการออกแบบพื้นที่ให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และส่งเสริมกิจกรรมของย่านการค้าทันสมัยใจกลางเมือง กับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย สุดท้ายในการวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตลอดจนข้อเสนอแนะสำหรับพื้นที่สาธารณะ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันต่อไป |
Other Abstract: | To study the design guidelines for public areas around 4 BTS stations (National Stadium, Siam, Chit Lom and Phloen Chit) and the characteristic changes of these public areas. The research also focused on 3 particular objectives: 1) Study physical changes of the public areas around BTS 4 stations 2) Analysis physical effects on the public areas 3) Present design guidelines and propose physical improvement guidelines. According to observation and field survey, the public areas around the BTS stations have been dramatically changing after the establishment of the BTS system. The major changes are the beginning of the elevated public areas, which were built together with the elevated railway system, and the activities taking place on the elevated public areas. For example, the transit from BTS system to on-ground roads, the commercial connections among trade zones of each 4 station (each trade zone was connected by the elevated public areas.), and the connections between mass transit, commercial activities and other activities coexisting on the public areas of the 4 BTS stations. The design concept of the public areas around BTS has introduced 3 design and improvement guidelines which are equivalent to the characteristic of the areas, to the activities and to the elevated transportation system. 1) Plan out the improvement pattern of the public areas accorded with Mass transportation system and surrounding areas. 2) Set a design guidelines connection network between on-ground public areas (and their activities) and elevated public areas (and their activities). 3) Create a unique design for public areas to support activities in modern trade zones and modern mass transit. Finally, the research also provided useful improvement guidelines and suggestions for other similar public areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13866 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1765 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1765 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yuttapoom_Po.pdf | 26.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.