Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13961
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สามารถ เจียสกุล | - |
dc.contributor.advisor | ธนิต ธงทอง | - |
dc.contributor.author | จริยา ธีระเกษมสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-11-25T08:31:48Z | - |
dc.date.available | 2010-11-25T08:31:48Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13961 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ที่มีต่อส่วนราชการเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาก่อสร้าง และเพื่อเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ขั้นตอนในการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นจากการใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ และการศึกษากระบวนการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในการจัดจ้างงานก่อสร้างของทางราชการ ผลการศึกษาสรุปว่า หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ทำให้วิธีคำนวณราคากลางเกิดความชัดเจนมากขึ้น มีมาตรฐานเดียวกัน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในการสมยอมกันเสนอราคาได้ เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าราคากลางไม่มีผลต่อพฤติกรรมในการเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นการเสนอราคาในลักษณะใด ปัญหาเบื้องต้นจากการใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ได้แก่ เกณฑ์การถอดแบบเพื่อสำรวจหาปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง การอ้างอิงข้อมูลราคาวัสดุก่อสร้าง อัตราค่าแรงงาน ปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้ Factor F การกำหนดราคากลางเป็นระบบที่จะป้องกันไม่ให้มีการกำหนดราคากลางไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริง และป้องกันการรวมเงินสินบนหรือเงินใต้โต๊ะของกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ราคากลางจึงเปรียบเสมือนระบบในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ช่วยในการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง หากไม่ถูกบิดเบือน สะท้อนราคาที่แท้จริง และสามารถตรวจสอบได้ ก็จะสามารถจะลดการรั่วไหลของเงินงบประมาณและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มากขึ้น งานวิจัยนี้ได้มีข้อเสนอทั้งในส่วนของการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ และข้อเสนอแนะในการสร้างความซื่อสัตย์และโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน | en |
dc.description.abstractalternative | To study the effect of reference price of government construction projects on participants and to address the guidelines for improving the regulation of reference price for government construction projects. The study was done by reviewing related research papers and documents, analyzing the basic problems of the regulation, and examining rent-seeking process in government procurement of construction projects. It was found that the regulation of reference price for government construction projects provides the standard for the reference price but cannot counter the rent-seeking behavior. The reasons for bidding do not depend on reference price but other factors. Basic problems of the regulation are quantity takeoff, prices of construction materials and labors, and Factor F. The reference price acts as a tool for preventing prices from being higher than the case with genuine competition, and countering bribery and deception. Moreover, it helps in resource allocation, contractor selection, and budget efficiency, consequently fair to all concerning parties. Recommendations for improving the regulation and for ensuring both public and private sectors’ honest and transparency are also given. | en |
dc.format.extent | 1057097 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1771 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การก่อสร้าง -- การประมาณราคา | en |
dc.subject | อาคารราชการ | en |
dc.subject | การเช่า (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์) | en |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สถาบัน | en |
dc.title | การศึกษาผลกระทบจากการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ | en |
dc.title.alternative | The study of an effects of reference price of government construction project | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Samart.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | fcettt@eng.chula.ac.th, Tanit.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1771 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariya_Te.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.