Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14547
Title: การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู
Other Titles: A needs assessment research study for developing teachers' classroom action research conduction
Authors: ยุทธพงษ์ อายุสุข
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwimon.W@chula.ac.th
Subjects: วิจัยปฏิบัติการ
การประเมินความต้องการจำเป็น
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์วิธีการที่ครูควรใช้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัย 2) เพื่อศึกษาสภาพจริงของวิธีการที่ครูใช้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัย และ 3) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูให้เหมาะสมตามวิธีการที่ควรจะเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จาก 3 สังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 489 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม เก็บรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม และเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การหาค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และใช้เทคนิค Modified Priority Needs index (PNI[subscripted modified]) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วิธีการที่ครูควรใช้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย การกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องวิจัยและแผนการแก้ไข การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน 2. ครูมีการกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยและแผนการแก้ไข การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด และ การสังเกตที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ส่วนการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยขั้นตอนที่ครูมีการปฏิบัติสูงสุด คือ ขั้นตอนการสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน 3. เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย พบว่าขั้นตอนการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 4. สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการชั้นเรียนของครูสูงสุด คือ ภาระงานที่ครูต้องรับผิดชอบมีจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการวิจัย การขาดความรู้และทักษะในการวิจัย และการขาดการสนับสนุนของผู้บริหาร 5. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ที่มีอิทธิพลสูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านตัวครู โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 16.18 ที่ df = 18, p = 0.58019 ค่า GFI = 0.99 ค่า AGFI = 0.98 และค่า RMR = 0.02 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการจำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูได้ร้อยละ 16 6. แนวทางการพัฒนาการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูที่สำคัญที่สุด คือ การสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา นอกจากนั้นยังมีแนวทางการพัฒนาอื่น ได้แก่ การพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยแก่ครู การส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสนับสนุนของหน่วยงานต้นสังกัด
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to synthesize the methods that teacher should practice in classroom action research conduction from related documentary and opinion of expertness separate by the step of research 2) to study the authentic of methods that teacher had used in classroom action research conduction separate by the step of research and 3) to assess the needs for developing teachers' classroom action research conduction. The samples were 489 teachers who had the experience in classroom action research conduction in Bangkok from 3 sectors: Department of Education Bangkok Metropolitan Administration, Office of The Private Education Commission and Office of The Basic Education Commission. This research used focus group technique and survey method to collect data. The research instruments were questionnaire. The data were analyzed via content analysis, descriptive statistics, t-test, One-way ANOVA, Pearson's correlation coefficient, LISREL analysis and setting priority in terms of needs using Modified Priority Needs Index. The research findings were summarized as follow: 1. The practice that teachers should apply in classroom action research conduction included raising the problem of research and developing an action plan, executing a research according to an action plan, observing the results, and reflecting the findings. 2. Teachers did raising the problem of research and developing an action plan, executing a research according to an action plan and observing a result in high degree, but reflecting the findings moderately. The step that the teachers practiced most was observing of the results from their practice. 3. After considering the teachers' needs in teachers' classroom action research conduction in each step of research, it was found that reflecting the findings was the most important needed. 4. The most problematic reason for teacher, causing needs in classroom action research conduction was the teachers' plenty tasks. Moreover, there were other causes such as no cooperation from related persons, teachers' lack of knowledge and skills in researching, and lack of administrators' support. 5. Teacher factor had the highest effect to the needs in teachers' classroom action research conduction. The causal model was valid and fitted with empirical data. Indicated by Chi-square goodness of fitted was 16.18, p = 0.58019, df = 18, GFI = .99, AGFI = 0.98 and RMR = 0.02. The model accounted for 16 percent of variance in the needs in teachers' classroom action research conduction variable. 6. The most important way for developing teachers' classroom action research conduction was school administrators' support. Besides, there were also other developmental ways such as improving knowledge and skills in researching for teachers, encouraging cooperation between related persons, and headquarters' support.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14547
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.479
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.479
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yuttapong.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.