Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14617
Title: | การเกิดและการควบคุมไบโอฟิล์มของ Salmonella บนพื้นผิวเหล็กสแตนเลส |
Other Titles: | Formation and control of Salmonella biofilm on stainless steel surfaces |
Authors: | จีระเดช มาลา |
Advisors: | รมณี สงวนดีกุล สุเมธ ตันตระเธียร สุทธิศักดิ์ สุขในศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Romanee.S@Chula.ac.th Sumate.T@Chula.ac.th Suttisak.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ไบโอฟิล์ม ซาลโมเนลลา เหล็กกล้าไร้สนิม |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยในการเกาะติดและการเกิดไบโอฟิล์มของ Salmonella Anatum DMST17362 บนพื้นผิวสัมผัสอาหาร ได้แก่ ปริมาณเชื้อเริ่มต้นในการเกาะติด เกรดและพื้นผิวของ stainless steel อุณหภูมิ และ แหล่งของสารอาหาร พบว่าในสภาวะที่มีเชื้อจำนวนมาก (8 log CFU/mL) เพียงแค่สัมผัส (0 นาที) ก็เพียงพอที่ทำให้ S. Anatum สามารถเกาะติดบนแผ่น stainless steel และตรวจพบเชื้อได้ ส่วนสภาวะที่มีเชื้อน้อย (3 log CFU/mL) จะต้องอาศัยเวลาให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวนจึงจะตรวจพบได้ แบคทีเรียสามารถเกาะบนพื้นผิว stainless steel และเกิดเป็นไบโอฟิล์มได้ โดยพบว่า S. Anatum สามารถเกาะและเพิ่มจำนวนเซลล์บน stainless steel เกรด 430 ได้มากกว่าเกรด 304 และ 316L ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนเซลล์บนพื้นผิวชนิด BA มีจำนวนเซลล์มากกว่าพื้นผิวชนิด 2B และอุณหภูมิ 30 ℃ S. Anatum สามารถเพิ่มจำนวนบนแผ่น stainless steel ได้ดีกว่าอุณหภูมิ 20 และ 15 ℃ โดยมีค่าเท่ากับ 6.08±0.35, 5.45±0.39 และ 3.50±0.22 logCFU/cm² ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ ส่วนการเปลี่ยนแปลงแหล่งของสารอาหาร (น้ำเกลือปลอดเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อTSB และ อาหารเลี้ยงเชื้อ TSB ผสม 1% กลูโคส) พบว่าเซลล์สามารถเจริญได้ใกล้เคียงกัน ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อ ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์และกรดเปอร์อะซิติก ในการลดปริมาณ S. Anatum ที่แขวนลอยในอาหารเลี้ยงเชื้อและเกิดเป็นไบโอฟิล์มบนผิวสัมผัสอาหาร พบว่า เมื่อปริมาณเชื้อเริ่มต้น 8 log CFU/mL การใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 100 ppm และกรดเปอร์อะซิติก 50 ppm สามารถทำลาย S. Anatum ในสารละลายเกลือความเข้มข้นร้อยละ 0.85 ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 1 นาทีและ 5 นาที ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อที่มีความเข้มข้นเท่ากันในการลดปริมาณเซลล์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Tryptic soy broth (TSB) และน้ำนึ่งไก่ พบว่าโซเดียมไฮโปคลอไรท์มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อได้น้อยลง ส่วนในกรณีของกรดเปอร์อะซิติกนั้นพบว่าสารอาหารไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์แต่อย่างใด ในการทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อในไบโอฟิล์ม เมื่อสร้างสภาวะให้เกิดไบโอฟิล์มบนแผ่น stainless steel 304/2B ใน TSB เป็นเวลา 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 30 ℃ และทดสอบกับสารฆ่าเชื้อทั้งสองชนิด พบว่าไบโอฟิล์มของ Salmonella ทนต่อสารฆ่าเชื้อทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น โดยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ไม่สามารถทำลายเซลล์ภายในไบโอฟิล์มได้เมื่อครบเวลา 30 นาที ส่วนกรดเปอร์อะซิติกความเข้มข้น 50 ppm สามารถทำลายเซลล์ภายในไบโอฟิล์มได้ทั้งหมดภายในเวลา 30 นาที ส่วนประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูที่ระดับ Minimum Bactericidal Concentration (2.25 mg/mL) นั้นไม่สามารถทำลายเซลล์เมื่อแขวนลอยในอาหาร (น้ำเกลือปลอดเชื้อ TSB และ TSB ผสม 1% กลูโคส)และไบโอฟิล์มของ Salmonella ได้เมื่อครบเวลา 30 นาที |
Other Abstract: | Factors affect attachment and biofilm formation by Salmonella Anatum DMST 17362 on stainless steel surfaces under different conditions were studied. The ability of bacterial cells to generate biofilms on the stainless steel coupons was studied for a total period of 72 hour, under four different experiment treatment: (i) grades and finish of stainless steel, (ii) initial cells inoculums (8 log and 3 log CFU/mL), (iii) incubation temperature (15, 20 and 30 ℃) and (iv) growth medium (0.85% NaCl, TSB and TSB supplement with 1% glucose). It was found that at 0 min bacterial cells can attach on coupons. The number of cells attachment and growth on coupons grade 430 was better than other grades and BA finish was better than 2B finish. The influence of incubation temperature and initial cells inoculums were studied together. The results showed that at initial load of 3 log CFU/mL, no cells can be detected up to 8 hours but at 24 hours the number of bacterial cells on coupons at 30℃ was higher than 20℃ and 15℃, respectively. The experiment using 8 log CFU/mL gave similar results. Whereas, cell could attach and form biofilm nearly the same in different medium (0.85% NaCl, TSB and TSB+1%glucose). The efficacy of sodium hypochlorite (NaOCl) and peroxyacetic acid (POA) were investigated. In planktonic state, the results showed that NaOCl 100 ppm (w/v) and POA 50 ppm (v/v) completely eliminated cells in 0.85% NaCl with in 1 min and 5 min at high inoculums (8 log CFU/mL), respectively. However, the same concentration of NaOCl showed less effective in eliminating cells when tested in either TSB or chicken broth. The efficacies of both sanitizers on Salmonella biofilm were studied. The results showed that only POA completely eliminated cells in biofilm. In this study we can conclusion that cell in biofilm was more resistant to sanitizers than planktonic cells. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14617 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.376 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.376 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jeeradet_Ma.pdf | 7.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.