Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี-
dc.contributor.authorวิษณุ หัตถา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2011-03-03T09:04:17Z-
dc.date.available2011-03-03T09:04:17Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractในการประมาณความรุนแรงของการสั่นไหวของพื้นดินและการตอบสนองของโครงสร้างในการออกแบบโครงสร้างให้ต้านทานแผ่นดินไหวจำเป็นต้องใช้แบบจำลองการลดทอนซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งเทียม กับระยะทาง ขนาดของแผ่นดินไหว และคาบธรรมชาติของการสั่นไหว รวมถึงลักษณะของแหล่งกำเนินแผ่นดินไหวและสภาพทางธรณีวิทยา ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสร้างแบบจำลองการลดทอนสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องเลือกใช้แบบจำลองจากต่างประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกแบบจำลองการลดทอนสำหรับการประมาณค่าสเปคตร้าการตอบสนองที่เหมาะสมกับประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินที่ตรวจวัดได้ในประเทศไทยจากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวระบบใหม่ของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินทั้งหมด 390 บันทึกจากแผ่นดินไหว 72 เหตุการณ์ แบ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งกำเนิดในบริเวณที่ไม่ใช่เขตมุดตัวของเปลือกโลก 90 บันทึก และจากบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก 300 บันทึก การศึกษานี้พิจารณาแบบจำลองการลดทอนจากต่างประเทศทั้งหมด 13 ชุด โดยเปรียบเทียบความเร่งเทียมที่ทำนายโดยแบบจำลอง กับความเร่งเทียมที่คำนวณจากข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินที่ตรวจวัดได้ โดยได้พิจารณาคาบธรรมชาติของการสั่นไหวในช่วง 0.05 ถึง 10 วินาที ความสอดคล้องของสมการลดทอนกับข้อมูลที่บันทึกได้บ่งชี้โดยใช้ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของผลต่างกำลังสอง (square-root-of-square-of-errors, RMS) จากการศึกษาพบว่า สมการลดทอนสำหรับบริเวณที่ไม่ใช่เขตมุดตัวของเปลือกโลกที่สอดคล้องกับข้อมูลที่บันทึกได้ในประเทศไทยมากที่สุดได้แก่ สมการที่เสนอโดย Sadigh และคณะ (1997) ซึ่งมีค่า RMS ต่ำที่สุด และโดย Toro (2002): Gulf region ส่วนสมการลดทอนสำหรับบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกที่สอดคล้องกับข้อมูลที่บันทึกได้ในประเทศไทยมากที่สุดได้แก่ สมการที่เสนอโดย Youngs และคณะ (1997)en
dc.description.abstractalternativeEstimation of ground motion intensity, i.e., peak ground acceleration or pseudo-acceleration of structures, needs to use an attenuation relationship, which is a function of earthquake magnitude, site-to-source distance, and natural period of vibration of structure. Attenuation model also depends on earthquake source mechanism, local site condition, and some other parameters. Currently, Thailand does not have enough ground motion data to develop an attenuation model specifically for the region; therefore, existing attenuation models from other regions have to be adopted. This research aims to determine the most suitable attenuation models for Thailand using newly available recorded ground motion data from new seismic stations of Thai Meteorological Department. A total of 390 records from 72 earthquake events were classified as 90 non-subduction zone earthquake records and 300 subduction zone earthquake records. Site conditions were also classified by the average shear wave velocity in the upper 30 m of the soil layers. Thirteen attenuation models were considered and their pseudo-acceleration estimates were compared to recorded data for natural period of vibration from 0.05 to 10 seconds. Peak ground acceleration estimates were also compared. The square root of mean of squares of differences (RMS) was computed to measure how well each model corresponds to recorded data. It was found that the attenuation equations for non-subduction zone earthquakes proposed by Sadigh et al. (1997), which has the lowest RMS value, for active tectonic regions and Toro (2002): gulf region for stable continental regions are most suitable for Thailand. Whereas, the most suitable attenuation equationfor Thailand in estimating ground motion intensity due to subduction zone earthquakes is the one proposed by Youngs et al. (1997).en
dc.format.extent4005083 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.125-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเคลื่อนไหวของโลกen
dc.subjectแผ่นดินไหว -- การวัดen
dc.titleแบบจำลองการลดทอนเพื่อประมาณค่าสเปคตร้าการตอบสนองสำหรับประเทศไทยen
dc.title.alternativeAttenuation medels to estimate response spectra for Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChatpan.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.125-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wissanu_ha.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.