Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14718
Title: | ประสิทธิภาพของการฝึกทักษะในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยกิจกรรมแบบมอนเตสซอรี่ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มแรก |
Other Titles: | Efficacy of activities of daily living skill training using Montessori-based activities in elderly with early stage dementia |
Authors: | กนกพรรณ กรรณสูต |
Advisors: | รวิวรรณ นิวาตพันธุ์ คำแก้ว ไกรสรพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Raviwan.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ภาวะสมองเสื่อม การสอนแบบมอนเตสซอรี ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฝึกทักษะในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยกิจกรรมตามหลักปรัชญาของมอนเตสซอรี่ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มแรก โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราอายุตั้งแต่ 63-94 ปี จำนวน 32 คน ทั้งหมดผ่านการคัดกรองด้วยการใช้แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-T 2002) และ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าสำหรับผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale/TGDS) เป็นเครื่องมือ ส่วนผลการฝึกทักษะวัดด้วยคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) โดยใช้ดัชนีจุฬาฯ เอดีแอลเป็นเกณฑ์ ผู้ร่วมวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และ กลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม ตามรูปแบบการทดลองแบบ Solomon four groups จากนั้นจึงทำการวัดคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่มก่อนเริ่มทำการฝึกทักษะ จากนั้นให้กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มเข้ารับการฝึกทักษะด้วยกิจกรรมที่จัดขึ้นตามหลักปรัชญาของมอนเตสซอรี่ วันละ 3 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ จนครบ 4 สัปดาห์ จึงทำการวัดคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) หลังฝึกทักษะของผู้ร่วมวิจัยทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ต่อจากนั้นให้ผู้ร่วมวิจัยกลุ่มทดลองเลือกกิจกรรมที่ตนสนใจไว้ฝึกต่อด้วยตนเองและลดการฝึกทักษะลงเหลือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จากนั้นจึงทำการวัดคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดในสัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 12 นับเป็นการติดตามผลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ตามลำดับ ข้อมูลที่รวบรวมได้นำไปวิเคราะห์ด้วยการหาค่าสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ด้วยการหาค่าสถิติเชิงอนุมาน คือ t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ที่วัดได้ก่อนการฝึกทักษะของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมนั้นไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการฝึกทักษะคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในการติดตามผลครั้งที่ 1 แต่ในช่วงติดตามผลครั้งที่ 2 นั้น คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองกลับลดลงเล็กน้อย (ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05) สำหรับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม ผลปรากฏว่าคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ทั้ง 3 ครั้งหลังของการวัดผล การทดสอบก่อนการฝึกทักษะไม่มีผลต่อคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญและข้อมูลด้านอายุเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ในการติดตามผลครั้งที่ 2 เท่านั้น สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลด้านอื่นๆ ส่งผลต่อคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) อย่างไม่มีนัยสำคัญในทุกช่วงการวัดผล |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study effectiveness of using Montessori philosophy-based activities in Activities of Daily Living (ADL) training for elderly with early stage dementia. The subjects consisted of 32 elderly in senior home aged from 63-94 who met the inclusion criteria. The screening instruments include Mini Mental Status Exam (MMSE-T2002) and Thai Geriatric Depression Scale (TGDS). Questionnaire eliciting personal information were also applied. Activities of Daily Living (ADL) score of each subject were measured against Chula ADL index. As Solomon Four Groups design experiment was adopted, the subjects were divided into four groups: two experimental groups and two controlled groups. One of the experimental groups and one of the controlled groups had their ADL scores measured as the pre-test prior to ADL training. Then the experimental groups attended the ADL training using Montessori philosophy-based activities for three hours a day, five days a week. After that all four groups had their ADL scores measured as the post-test in the 4th week. Then, the activity of individual interest was assigned to each subject in the experimental groups and the intervention was decreased to 3 hours a week. All the subjects had their ADL scores measured again in the 8th week and the 12th week as the first and the second follow-up. The data obtained was analyzed for descriptive statistics and the average ADL scores of the experimental groups and the controlled groups were compared by means of inductive statistics which are t-test and ANOVA. The results showed that the average ADL pre-test scores of both groups were indifferent. After the training, the average ADL score of the experimental groups increased significantly (p < 0.05) and so did the average scores of the first follow-up, but their average scores of the second follow-up decreased insignificantly (p < 0.05) while those of controlled groups decreased significantly (p < 0.05) in all three phases. Regarding the personal data, it was found that only age had an effect on ADL scores of the second follow-up phase but the effect of other factors are statistically insignificant at the level of p < 0.05 in all phases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14718 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.807 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.807 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokpan_ka.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.