Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14734
Title: ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
Other Titles: Psychological experiences of women with unwanted pregnancy
Authors: หทัยทิพย์ ไชยวาที
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Psoree@chula.ac.th
Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: สตรีมีครรภ์ -- แง่จิตวิทยา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์รูปแบบของงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฎการณ์วิทยา มีผู้ให้ข้อมูลคือหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ ซึ่งเข้าพักพิงในบ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี จำนวน 12 ราย ข้อมูลได้มาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าสามารถจำแนกประสบการณ์ด้านจิตใจ ออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นความทุกข์จากการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากความกลัวว่าสังคมและคนรอบข้างจะรับรู้การตั้งครรภ์ เกิดจากความรู้สึกผิดที่ทำให้ครอบครัวและคนที่ตนรักต้องเสียใจ และเกิดจากความสูญเสียโอกาสด้านต่างๆ ในชีวิต 2) ประเด็นการพยายามหาทางออกจากปัญหาตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มีขั้นตอนเริ่มต้นจากความลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นพร้อมหรือไม่พร้อม เมื่อใคร่ครวญแล้วว่าการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นไม่พร้อม ขั้นต่อมาคือการแสวงหาทางเลือก การเสาะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และขั้นสุดท้ายการตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ ซึ่งมีเหตุผลและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เป็นห่วงตนเอง หมดหวังจากการทำแท้ง ความรู้สึกผิดบาป ความเชื่อเรื่องเวรกรรม การได้รับความรักความเข้าใจกำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง การมีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ 3) ประเด็นการได้บทเรียนชีวิต การตั้งครรภ์ทำให้สำนึกคุณค่าของครอบครัวและเพื่อน ทำให้มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่หนทางที่ดีขึ้น และได้บทเรียนในการวางแผนอนาคตของตนเองและลูกผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือฟื้นฟูด้านจิตใจ และเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือทางด้านจิตใจแก่หญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
Other Abstract: This research was a phenomenological approach aimed to examine the psychological experiences of unwanted pregnancy women, who carried to term. Data were collected by in-depth interviewing of 12 females who lived in the Emergency Home in the Association for the Promotion of the Status of Women. Psychological experiences of the 12 key informants were analyzed and were found that they could be grouped into 3 themes as follows: 1) A theme of psychological suffering from the pregnancy: The unwanted pregnancy women were fearful of social negative reaction and tried to keep it a secret for being fearful that other would know about their immature pregnancy, felt guilty and lost. 2) A theme of trying to find out the solutions: This process began with the feeling that the unwanted pregnancy women had confusing reaction to carry to term. Then they searched for the information to help decision making to keep their child and finally made their decision to keep their child. The key reasons for making decision was concerned with their self concern, the feeling of hopeless were for not being able to do adortion, guilt, beliefs in the result of karma, and the support from family and helping organization. 3) A theme of lesson in life: The unwanted pregnancy women became conscious of the value of the family and friends, had the new insight to develop oneself and began to see the importance of life planning. The research findings could be used to understand, basically, psychological experiences of the unwanted pregnancy women and could be useful for psychological support for the unwanted pregnancy women.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14734
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.986
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.986
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hathaitip Ch.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.