Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทิกา ทวิชาชาติ-
dc.contributor.authorศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-03-11T07:44:50Z-
dc.date.available2011-03-11T07:44:50Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14797-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาลักษณะของการเห็นคุณค่าในตนเอง ลักษณะการปรับตัวในสังคม และความสัมพันธ์ของการเห็นคุณค่าในตนเอง กับการปรับตัวในสังคมของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีคณะเภสัชศาสตร์ทุกชั้นปี จำนวน 533 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลครอบครัว แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองที่ปรับปรุงจาก The Coopersmith self-esteem inventories (CSEI) และแบบวัดการปรับตัวในสังคมที่ปรับปรุงจาก The Social adjustment scale-self report (SAS-SR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independence t-test, one-way ANOVA, Pearson correlation และ multiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 37.65 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 6.552 เมื่อใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ไทล์เป็นตัวกำหนดระดับคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง พบว่ามีนิสิต 48.2% ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < 0.05 ได้แก่ เพศหญิง การสอบได้เกรดเฉลี่ยที่มากกว่าหรือเท่ากับ 2.75 การที่ไม่สูบบุหรี่/ไม่ดื่มสุรา ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้คะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 ได้แก่ การมีโรคประจำตัว ความสัมพันธ์กับบิดาหรือความสัมพันธ์กับมารดาแบบขัดแย้ง/ทะเลาะ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับมารดาแบบขัดแย้ง/ทะเลาะ สถานภาพสมรสที่บิดามารดาแต่งงานแต่แยกกันอยู่ จะมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำกว่านิสิตที่บิดามารดาแต่งงานและอยู่ด้วยกัน ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวในสังคมพบว่า คะแนนการปรับตัวในสังคมของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 7.236 เมื่อใช้เกณฑ์ เปอร์เซ็นต์ไทล์ ตัวกำหนดระดับการปรับตัวในสังคม พบว่ามีนิสิต 50% ที่มีการปรับตัวในสังคมในระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่ผลส่งเสริมการปรับตัวในสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 ได้แก่ เพศหญิง และการที่บิดาและมารดามีความสัมพันธ์กันแบบใกล้ชิดสนิทกันมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้การปรับตัวในสังคมไม่ดีได้แก่ การที่สูบบุหรี่/ดื่มสุรา ความสัมพันธ์ของนิสิตกับบิดาหรือกับมารดาแบบขัดแย้ง/ทะเลาะ และพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.01 นั่นคือนิสิตที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงขึ้นจะมีการปรับตัวในสังคมที่ดีขึ้น ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาแนวทางส่งเสริมการเก็นคุณค่าในตนเองและป้องกันปัญหาการปรับตัวในสังคมของนิสิตen
dc.description.abstractalternativeTo describe the self esteem and the correlation between self esteem and social adjustment among pharmacy students of Chulalongkorn University. Five hundred and thirty three undergraduate students answered the questionnaires. The research instruments were a demographic questionnaire, self-esteem questionnaire, adapted from the Coopersmith self-esteem inventories (CSEI) and social adjustment questionnaire, adapted from the social adjustment scale-self report (SAS-SR). The data were analyzed by using descriptive statistics, independence t-test, one-way ANOVA, Pearson correlation and multiple regression analysis. The results showed mean and SD regarding the self esteem score was 37.65 and 6.552 respectively. When using percentile to set the level of low self esteem, 48.2% of the group was defined good to very good self esteem. Factors contributing to a healthy self esteem with the significant at p < 0.05 were gender (female), education performance (measure as GPAX). Factors associated with decreased self esteem were dringking or smoking, conflict relationship between students and their father or mother, conflict relationship between their father and their mother, and personal illness. Mean score and SD regarding the social adjustment score were 40.33 and 7.236 respectively. When using percentile to set the level of social adjustment, 50% of the group showed good to very good social adjustment. Factors associated with increased social adjustment were gender (female), and very closed relationship between their father and mother. Factors associated with decreased social adjustment were drinking or smoking, conflict relationship between students and their father or mother. We also found the correlation between self esteem and social adjustment in linear function. High self esteem can predict good social adjustment. The result from this study may be of use as the guide to make a program to enhance self esteem and social adjustment for pharmacy student.en
dc.format.extent2715381 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1415-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ -- นักศึกษาen
dc.subjectความนับถือตนเองในวัยรุ่นen
dc.subjectการปรับตัวทางสังคมen
dc.titleการเห็นคุณค่าในตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่าง การเห็นคุณค่าในตนเอง กับการปรับตัวในสังคมของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeSelf esteem and the correlation between self esteem and social adjustment of the university students at Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmednta@md2.md.chula.ac.th, fmednta@md2.md.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1415-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_Ta.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.