Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15113
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพและอัตราความคลาดเคลื่อนของการกำหนดเกรดแบบอิงกลุ่ม และอิงเกณฑ์ เมื่อใช้แบบสอบเลือกตอบที่มีการตอบ และการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนด้วยวิธีแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of the quality and error rates of norm-referenced and criterion-referenced grading using multiple-choice questions with different partial knowledge scorings
Authors: รัตนา ไชยตรี
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirchai.k@chula.ac.th
Subjects: การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
การวัดผลทางการศึกษา
การสอบอิงเกณฑ์
การสอบ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณภาพ ด้านความตรง ความเที่ยง ฟังก์ชันสารสนเทศและประสิทธิภาพสัมพันธ์เฉลี่ยของแบบสอบ จากวิธีการตอบและตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนที่ประยุกต์วิธีของคูมบ์ส ประยุกต์วิธีของเดรสเซลและชมิดท์ และ วิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจ 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนในการกำหนดเกรดแบบอิงกลุ่ม และอิงเกณฑ์ ของคะแนนที่ได้จากวิธีการตอบและตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนที่ประยุกต์วิธีของคูมบ์ส ประยุกต์วิธีของเดรสเซลและชมิดท์ และวิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,005 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความตรงตามสภาพ ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยาก ฟังก์ชันสารสนเทศ ประสิทธิภาพสัมพันธ์เฉลี่ยของแบบสอบ และวิเคราะห์อัตราความคลาดเคลื่อนของการกำหนดเกรด โดยโปรแกรม PASCALE และ SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเซลและชมิดท์ให้ค่าความตรงตามสภาพสูงกว่าวิธีอื่น ๆ รองลงมา คือ วิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์ส และวิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจ ตามลำดับ 2. วิธีการตอบโดยระดับความมั่นใจให้ค่าความเที่ยงสูงที่สุด รองลงมาคือวิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเซลและชมิดท์ และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์ส 3. วิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจให้ค่าอำนาจจำแนกสูงที่สุด รองลงมาคือวิธีประยุกต์ของเดรสเซลและชมิดท์ และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์ส ให้ค่าความยากสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น รองลงมาคือวิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจ และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเซลและชมิดท์ 4. วิธีการตอบโดยบอกระดับความมั่นใจให้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบและอัตราส่วนสารสนเทศระหว่างแบบสอบสูงสุด และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์สมีค่าสารสนเทศต่ำสุด 5. อัตราความคลาดเคลื่อนของการกำหนดเกรด พบว่า วีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเซลและชมิดท์มีอัตราความคลาดเคลื่อนทางบวกของเกรดแบบอิงกลุ่ม และอิงเกณฑ์สูงสุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ส่วนวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์สมีอัตราความถูกต้องในการกำหนดเกรดทั้งแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์สูงสุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น.
Other Abstract: This thesis aimed (1) To analyze and compare of the quality of validity, reliability item information and average-relative efficiency scoring method by the Modified Coombs' method, the Modified Dressel and Schmidts' method and the Confidence marking (MC, D/D and CM). (2) To analyze and compare the error rates of Norm-Referenced and Criterion-Referenced scoring method by the Modified Coombs' method, the Modified Dressel and Schmidts' method and the Confidence marking, Research subjects were 1,005 students of Mathayomsuksa 3 from 8 secondary schools in Bangkok in 2005. Research instrument was mathematics achievement test. Data analyze by concurrent validity. Intermal consistency reliability, Discrimination and Difficulty of item information and average-relative efficiency and PARSCALE and SPSS were conducted to analyze error rates of grading. The research findings were as follows: 1. The Modified Dressel and Schmidts' method had higher construct validity than that of the other methods, the second and the third were the Modified Coombs' method and the Confidence marking method. 2. The Confidence marking method had higher reliability than that of the other methods, the second and the third were the Modified Dressel and Schmidts' method. 3. The Confidence marking method had higher Discrimination than that of the other methods, the second and the third were the Modified Dressel and Schmidts' and the Coombs' method. The Modified Coombs’ method had higher Difficulty than that of the other methods. 4. The Confidence marking method had highest item information and the Modified Coombs' method had the lowest. 5. The Modified Dressel and Schmidts' method has highest positive rates of Norm-Referenced and Criterion-Referenced grading and the Modified Coombs' method had highest correct of Norm-Referenced and Criterion-Referenced grading.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15113
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.219
ISBN: 9741426933
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.219
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratana.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.