Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15605
Title: เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการแนะแนวการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งานในเว็บไซด์ hi5.com
Other Titles: Online social network and guidance of the user lifestyle in www.hi5.com
Authors: แอนนิรา นิราช
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- ไทย
เว็บไซต์ -- ไทย
การดำเนินชีวิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเว็บไซต์ hi5.com ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งาน เพื่อวิเคราะห์บทบาทของเว็บไซต์ hi5.com ในการแนะแนวการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งาน เพื่อวิเคราะห์กระบวนการแนะแนวการดำเนินชีวิตและการปรับการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งานระหว่างผู้ใช้งานเก่าและผู้ใช้งานใหม่ในเว็บไซต์ hi5.com เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้งานของผู้ใช้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งาน ตามลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งาน 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ กลุ่มแสวงหาประสบการณ์ทางเพศ กลุ่มชอบแสดงออก กลุ่มเชื่อในสิ่งลี้ลับและศาสนา กลุ่มเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพล 4 ประการ ได้แก่ อิทธิพลต่อพฤติกรรมการเปิดเผยตัวตน อิทธิพลต่อความสนใจในเรื่องต่างๆ อิทธิพลต่อการพฤติกรรมการใช้เวลา และอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม 2) บทบาทของเว็บไซต์ hi5.com ในการแนะแนวการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งาน แบ่งเป็น 4 ประเภท คือบทบาทในการสร้างตัวตนและความเป็นตัวของตัวเอง บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ในสังคม บทบาทในการให้ความบันเทิง และบทบาทในการให้ข้อมูล 3)การแนะแนวผู้ใช้งาน มี 5 ลักษณะคือ ลักษณะการให้ข้อมูลใหม่ ลักษณะการยืนยันข้อมูล ลักษณะการแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ลักษณะการช่วยตัดสินใจ และลักษณะการตักเตือน 4) กระบวนการแนะแนวการดำเนินชีวิต และการปรับใช้ข้อเสนอแนะของผู้ใช้งาน มี 5 กระบวนการคือ การเลือกผู้ใช้งานเก่าที่น่าสนใจ การสร้างความสนิทสนมคุ้นเคย การปรับตนเองให้ทันเหตุการณ์ การเลือกเปิดรับ และการนำไปปรับใช้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต.
Other Abstract: A key objective of this research is to study how hi5.com influences their user daily activities. An analysis of how contents in the website guide day-to-day lifestyle to their users is performed. The lifestyle pattern guidance process is explored. A comparison between the existing and new users in how to adapt their way of life to a current situation is exhibited. The research methodology is based on a qualitative approach with semi-structure and in-depth interviews, along with focus group observation. The research shows some interesting results. Firstly the user behaviors affect their life patterns in a five individual sample groups as follows 1) Sexual Identity Generating Network 2) Sexual Experience Seeking Network 3) Exhibitionist Network 4) Spiritual and Religion Believing Network and 5) Distinctive Network. As a result the website access manners affect four behavior perspectives; identity reveals self-interest, time spending and cultural change. Secondly the website provides their users day-to-day guidance in four roles. Those are 1) identity generating 2) social relationship building 3) entertaining and 4) information providing. Thirdly the website provides beneficial life-guidance information to their users in five ways as follows: 1) updated useful information, 2) information confirmation 3) life-problem solution 4) supporting decision and 5) real-life caution. Finally way-of-life guidance and real-life adapting processes are described as follows; existing user profiles selection, user relationship and interaction, real-world self-adaption, possible approach adoption, and real-life application.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15605
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.200
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
annira_ni.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.