Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15770
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศันสนีย์ เณรเทียน | - |
dc.contributor.author | สุพัตรา จอมคำสิงห์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-08-24 | - |
dc.date.available | 2011-08-24 | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15770 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างงานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างงานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชินีบน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนราชินีบน จำนวน 108 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 54 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 54 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน และแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิต ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำคือ 50% 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่สูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .05 3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน มีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ไม่สูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were: 1) to study mathematics problem solving ability of ninth grade students being organized mathematics learning activities by using worked examples, 2) to compare mathematics problem solving ability of ninth grade students between groups being taught by using worked examples and by using conventional approach, 3) to compare mathematics learning retention of ninth grade students between groups being taught by using worked examples and by using conventional approach. The populations of this research were ninth grade students of Rajinibon School in Bangkok. The subjects were 108 ninth grade students in first semester, academic year 2009 in Rajinibon School. They were divided into two groups, one experimental group with 54 students and one controlled group with 54 students. Students in experimental group were organized mathematics learning activities by using worked examples and those in control group were organized mathematics learning activities by using conventional approach. The data collection instruments were the mathematics problems solving test and the mathematics learning achievement test. The experimental instruments constructed by the researcher were lesson plans using worked examples and lesson plans using conventional approach. The data were analyzed by means of arithmetic, mean of percentage, standard deviation, t-test and analysis of covariance (ANCOVA). The results of the study revealed that: 1) Mathematics problem solving abilities of ninth grade students being organized mathematics learning activities by using worked examples were higher than minimum criteria of 50 percent. 2) Mathematics problem solving abilities of ninth grade students being organized mathematics learning activities by using worked examples were not different from those of students being organized mathematics learning activities by using conventional approach at .05 level of significance. 3) Mathematics learning retention of ninth grade students being organized mathematics learning activities by using worked examples were not higher than those of students being organized mathematics learning activities by using conventional approach at .05 level of significance. | en |
dc.format.extent | 1867022 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1458 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนการสอน | en |
dc.title | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 | en |
dc.title.alternative | Effects of using worked examples in organizing mathematics learning activities on mathematics problem solving ability and learning retention of ninth grade students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาคณิตศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1458 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supattra_jo.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.