Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15773
Title: อิทธิพลของกระบวนการครอบครัวและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Effects of family process and intervening variables on motive self-concept self-esteem learning attitude and academic achievement in Bangkok
Authors: มินตรา สิงหนาค
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การสื่อสารในครอบครัว
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
การรับรู้ตนเอง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการครอบครัวและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของกระบวนการครอบครัวและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จ านวน 532,422 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียนประถมศึกษา จ านวน 540 คน และผู้ปกครอง จ านวน 540 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายใน 4 ตัวแปร คือ อัตมโนทัศน์ทางการเรียน แรงจูงใจในการเรียน เจตคติทางการเรียน การเห็นคุณค่าในตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวแปรแฝงภายนอก 1 ตัวแปร คือ กระบวนการครอบครัว โดยตัวแปรแฝง วัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 24 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจ านวน 2 ฉบับ ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ 0.44-0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่ส าคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของกระบวนการครอบครัวและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง ได้แก่ อัตมโนทัศน์ทางการเรียน แรงจูงใจในการเรียน เจตคติทางการเรียน และการเห็นคุณค่าในตนเอง และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ กระบวนการครอบครัว โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ได้แก่ ตัวแปรเจตคติทางการเรียน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของกระบวนการครอบครัวและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่า ไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 123.73; p = 1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 225 ค่า GFI เท่ากับ 0.98 ค่า AGFI เท่ากับ 0.97 และค่า RMR เท่ากับ 0.025 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 19
Other Abstract: The purposes of this research were to study effects of family process and intervening variables on academic achievement in Bangkok elementary students, and to examine the goodness of fitting of the model to the empirical data. The research population consisted of 532,422 elementary students in Bangkok. The research responders were 540 elementary students and 540 parents. Variables consisted of five endogenous latent variables : academic self concept, learning motivation, learning attitude, self esteem, and academic achievement ; and on exogenous latent variable: family process. These latent variables were measured by 24 observed variables. Data were collected by 2 questionnaires having reliability for each variable ranging form 0.44-0.85 and analyses by using descriptive statistic, Pearson’s product moment correlation, LISREL analysis. The major findings were as follows: 1. The casual model consisted of two type of variable, i.e., variable having direct effect to the academic achievement : academic self concept, learning motivation, learning attitude, and self esteem; and variable having both direct and indirect effects: family process. Among these variables, factor of learning attitude had the highest total effect. 2. The casual model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 123.73 , p = 1.00, df = 225 , GFI = 0.98 , AGFI = 0.97 and RMR = 0.025. The model accounted for 19 % of variance in effects of family process and intervening variables on academic achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15773
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.262
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.262
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mintra_si.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.