Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15777
Title: การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ตามแนวคิดของการประเมินแบบอิงมาตรฐาน และการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ
Other Titles: Development of a performance appraisal system for private university faculty based on standard-based evaluation and competency-based pay
Authors: ปิยะธิดา ทองอร่าม
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: อาจารย์มหาวิทยาลัย
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- การประเมิน
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การประเมินผลงาน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) สร้างและพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานแบบอิงมาตรฐานการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน และการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ (2) ทดลองใช้ ระบบการประเมินการปฏิบัติงานแบบอิงมาตรฐานการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน และการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของระบบการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน และการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการออกแบบระบบการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ตามแนวคิดของ การประเมินแบบอิงมาตรฐานและการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ ตามองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการประเมิน องค์ประกอบเนื้องานที่มุ่งประเมิน มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และระยะเวลาในการประเมิน (2) ด้านกระบวนการประเมิน ประกอบด้วย การเตรียมการประเมิน การดำเนินการประเมิน และการวิเคราะห์สรุปผลการประเมิน (3) ด้านผลผลิตคือ ผลการปฏิบัติงานของอาจารย์รายบุคคล และ (4) ด้านข้อมูลป้อนกลับคือ ผลการปฏิบัติงานรายบุคคล โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสมของมาตรฐานการประเมิน ในภาพรวมในทุกมาตรฐานการประเมินมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้ระบบการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ตามแนวคิดของ การประเมินแบบอิงมาตรฐานและการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ โดยมีการทดลองใช้ระบบใน 2 มหาวิทยาลัยๆ ละ 20 คน พบว่า (1) มหาวิทยาลัย A มีอาจารย์ที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงานสูงกว่ามาตรฐาน มากจำนวน 2 คน สูงกว่ามาตรฐาน จำนวน 10 คน และตามมาตรฐาน จำนวน 8 คน (2) มหาวิทยาลัย B มีอาจารย์ที่มีผลการประเมินสูงกว่ามาตรฐานมากจำนวน 1 คน สูงกว่ามาตรฐาน จำนวน 6 คน และตามมาตรฐานจำนวน 13 คน 3. ผลการประเมินประสิทธิผลระบบฯ (4.1) ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้ระบบ อาจารย์ผู้รับการประเมินมีความพึงพอใจต่อระบบการประเมินฯ ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกรายองค์ประกอบย่อยของระบบ พบว่า ทุกองค์ประกอบย่อยผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในระดับมาก (4.2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาจำแนกรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มาตรฐานด้านความเป็นไปได้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มาตรฐานด้านความเหมาะสมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และมาตรฐานด้านความถูกต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
Other Abstract: To 1) create and develop a performance appraisal system for private university faculty based on standard-based evaluation and competency-based pay 2) trial a performance appraisal system for private university faculty based on standardbased evaluation and competency-based pay 3) system verification of a performance appraisal system for faculties of private university based on standard-based evaluation and competencybased pay. The research results can be conclude as follow: 1. Results of design a performance appraisal system for faculties of private university based on standard-based evaluation and competency-base pay that include 1) input were objective of appraisal, content of faculty appraisal, standard indicators, appraisal rubrics and period of appraisal 2) appraisal process were preparation, process and analyze and summary of appraisal 3) output were reported to the individual faculty performance 4) feedback were reported individual performance 2. Results of a performance appraisal pilot system for faculties of private university based on standard-based evaluation and competency-based pay, evaluated by twenty faculties from two university: there were (1) university A have two persons passed superior-performance standard level, ten persons passed great-performance standard level and eight persons passed meet-performance standard level (2) university B have one person passed superior-performance standard level, six persons passed great-performance standard level and thirteen persons passed meet- performance standard level 3. Results of performance appraisal system that include: 4.1) the satisfaction about system and all factors of system were in a very good level 4.2) Evaluation of the quality appraisal system was in a good level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15777
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.578
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.578
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyathida_to.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.