Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15896
Title: การประยุกต์ใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงานสำหรับประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อต่ออายุการรับรอง
Other Titles: An application of the performance appraisal method to assess the competency of basic education external evaluators for license renewal
Authors: ศจี จิระโร
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Lawthong_n@hotmail.com
Subjects: สมรรถนะ -- การประเมิน
ประกันคุณภาพการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน สำหรับการประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อต่ออายุการรับรอง (2) เพื่อทดลองใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงาน ตามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น (3) เพื่อประเมินคุณภาพของวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน การวิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดประเด็นและน้ำหนักของประเด็นประเมินการปฏิบัติงาน โดยการวิเคราะห์สมรรถนะผู้ประเมินภายนอก จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน สำหรับการประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอก โดยจัดทำกรอบการประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญ 17 ท่าน ตรวจพิจารณา และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือก่อนทดลองใช้ โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่เรียนวิชาวิธีวิทยาการประกันคุณภาพตามหลักสูตรที่ สมศ. ให้การรับรอง จำนวน 33 คน ขั้นตอนที่ 3 ทอลองใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงาน สำหรับการประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอก โดยการทดลองใช้กับผู้ประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินคุณภาพของวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน สำหรับการประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอก โดยพิจารณาจากผลการประเมินวิธีการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนดโดย คณะกรรมการร่วมในการกำหนดมาตรฐานการประเมิน (The Joint Committee on Standards for Educational Evaluation) และผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 42 คน ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้ประเมินทำการประเมินแห่งหลังสุด โดยมีจำนวนครู 26 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 6 คน และผู้เข้ารับการประเมิน จำนวน 10 คน ทำการประเมินภายหลังจากผ่านการทดลองใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหาของผลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการกำหนดประเด็นและน้ำหนักของประเด็นประเมินการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 6 ประเด็น ดังนี้ (1) ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มีน้ำหนักความสำคัญสูงสุด เป็นอันดับที่หนึ่ง คิดเป็น 28% รองลงมาคือ (2) ความสามารถในการประเมินผลมีน้ำหนักความสำคัญเป็นอันดับที่สอง คิดเป็น 22% (3) ผลการปฏิบัติงาน มีน้ำหนักความสำคัญเป็นอันดับที่สาม คิดเป็น 17% ตามลำดับ (4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม (5) ความเป็นกัลยาณมิตรในการประเมิน และ (6) จรรยาบรรณในการประเมิน มีน้ำหนักความสำคัญเท่ากัน และมีความสำคัญเป็นอันดับที่สี่ คิดเป็น 11% 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือ พบว่า ความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือส่วนใหญ่มีค่า IOC มากกว่า 0.50 มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.71-0.98 การวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดรายข้อ พบว่า แบบวัดสมรรถนะผู้ประเมินภายนอกส่วนใหญ่เป็นข้อสอบที่มีค่าความยากอยู่ในระดับค่อนข้างง่าย จำนวน 41 ข้อ (ค่า p อยู่ระหว่าง 0.60-0.79) คิดเป็น 60.29% ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับดี จำนวน 32 ข้อ (ค่า r อยู่ระหว่าง 0.40-0.59) คิดเป็น 47.06% ส่วนการวิเคราะห์อำนาจจำแนกรายข้อของแบบประเมินโดยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า 83.33% ของข้อคำถามทั้งหมด สามารถจำแนกได้อย่างมีนัยสำคัญ 3. ผลการทดลองใช้วิธีประเมิน พบว่า ผู้ประเมินภายนอกที่เข้ารับการประเมินการปฏิบัติงาน สำหรับประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อต่ออายุการรับรองทั้ง 10 คน ผ่านเกณฑ์การต่ออายุการรับรองความเป็นผู้ประเมินภายนอกตามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีค่าคะแนนรวม อยู่ระหว่าง 71.67% ถึง 89.41% 4. ผลการประเมินคุณภาพของวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน ในด้านการประเมินตามมาตรฐานการประเมินพบว่า โดยรวมวิธีการประเมินมีมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Other Abstract: To (1) develope the performance appraisal method to assess the competency of basic education external evauators for license renewal, (2) implement these method that developed by researcher, (3) evauate the quality of these method. The process of this research had four steps. The first step was to specify and weigh evaluated topics of performance appraisal to assess the external evaluators by analyzing competencies of external evauators from several data sources such as studying the related document, surveying the opinion of 12 experts. The second step was to develop the performance appraisal method to assess the competency of external evaluators by making evaluation framework, to evaluate the method by 17 experts, and to test quality of measuring instruments by 33 students of Kanchanaburi Rajabhat University that were studied quality assessment subject. The third step was to implement the performance appraisal method by 10 basic education external evaluators. The fourth step was to assess the quality of method in 2 parts; (1) to evaluate result of assessing this method by the joint committee on standards for educational evaluation (2) to evaluate result of satisfy using the method by 42 persons consisted of 26 teachers, 6 administrators and 10 external evaluators. This research analysis data by descriptive statistics and content analysis of interview result. The results as follows: 1. Evaluate topic consisted of 6 topics (1) quality assessment knowledge weighted highly 28% (2) evaluation ability weighted 22% (3) result performance weighted 17% (4) team work ability (5) friendly evaluator (6) ethics evaluator, three last topic weighted 11%. 2. Testing validity and reliability of measuring instruments, the finding of content validity had IOC value more than 0.50 and reliability coefficient values of 0.71-0.98. Item testing analysis found that the basic education external evaluator competency had rather easy 41 items 60.29% (p = 0.60-0.79) and good discrimination of 32 items 47.06% (r = 0.40-0.59). Discrimination from inferential statistic by t-test of evaluation form was significantly. 3. Result of implement this method found that 10 external evaluators passed criterion with total score between 71.67%-87.41%. 4. Result of assess quality this method by the joint commitee on standards for educational evaluation found that utility standards, feasibility standards, propriety standards, and accuracy standards, were very good, and total satisfy was good.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15896
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.855
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.855
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sajee_ji.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.