Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15949
Title: เครือข่ายการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน
Other Titles: Communication networks and cultural adaptation of exchange students
Authors: อัชวัตร แสนศรี
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Metta.V@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารกับวัฒนธรรม
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
การสื่อสาร
การปรับตัวทางสังคม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง "เครือข่ายการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะ ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน เครือข่ายการสื่อสารและปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคลและระหว่างบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน และแนวทางเพื่อช่วยในการปรับตัวของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีการสำรวจด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ในต่างประเทศจำนวน 27 คน เพื่อนของนิสิตที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจำนวน 81 คน เจ้าหน้าที่และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศจำนวน 4 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะ การปรับตัวของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยนพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีการปรับตัวโดยเน้นการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมในประเทศที่นิสิตไปศึกษาแต่น้อยกว่าการคงความเป็นไทย โดยเฉพาะการเรียนรู้สำเนียงและภาษาของคนท้องถิ่น ส่วนขั้นตอนการปรับตัว นิสิตใช้เวลาในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ นิสิตส่วนใหญ่มีความรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งแวดล้อมใหม่ และขั้นตอนความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม อยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ การเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมจะเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4 สัปดาห์ ส่วนด้านปัญหาและอุปสรรคการปรับตัว พบไม่มากนัก ที่พบบ้างส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ศัพท์และสำเนียงท้องถิ่นและอคติต่อประเทศเจ้าบ้านก่อนเดินทางไปศึกษา 2. ด้านเครือข่ายการสื่อสาร พบว่า บทบาทของเครือข่ายสื่อสารทั้งไทยและต่างชาติในการช่วยเหลือนิสิตอยู่ในระดับสูง โดยนิสิตในโครงการแลกเปลี่ยน มีการสื่อสารกับคนไทยด้วยกันมากที่สุด ซึ่งมีบทบาทช่วยเหลือทางจิตใจและความรู้สึก (affective support) ส่วนบทบาทการช่วยเหลือด้านการเรียนและการทำงาน (instrumental support) นั้น นิสิตมีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติที่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกันมากที่สุด ทั้งนี้ ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของนิสิตอยู่ในระดับกลาง เช่นเดียวกับบุคลิกภาพเชิงบวกของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยนและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้พบว่าบุคลิกภาพเชิงบวก มีผลต่อการปรับตัวของนิสิต สำหรับปัจจัยระดับบุคคลที่มีผลต่อการปรับตัวของนิสิตได้แก่แรงจูงใจของตัวนิสิตเองที่มีความคาดหวังในการต้องการที่จะเรียนรู้การใช้ชีวิตในต่างประเทศ ส่วนปัจจัยระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการปรับตัวได้แก่เครือข่ายการสื่อสารที่เป็นคนไทย 3. แนวทางเพื่อช่วยในการปรับตัวของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ความพยายามในการทำความเข้าใจคนในวัฒนธรรมที่นิสิตไปศึกษา ความพยายามเรียนรู้ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น ๆ ความพยายามในการติดต่อสื่อสารกับคนท้องถิ่นมากขึ้น และความพยายามในการสังเกตพฤติกรรมที่คนท้องถิ่นปฏิบัติกันเพื่อเรียนรู้วิธีการปรับตัว
Other Abstract: The purposes of this research are to study the nature of cultural adaptation of exchange students, their adaptation problems and obstacles, their communication network, and factors, both personal and interpersonal, which affect their cultural adaptation, including guidelines for facilitating cultural adaptation of exchange students. The research is conducted by both qualitative and quantitative methods: by questionnaires and in-depth interview. The samples are 27 exchange students, 81 exchange students~ friends, and 4 Thai and foreign instructors and concerned staffs. The results are as follow: 1.Cultural Adaptation Process: most students tend to learn to adapt themselves to the host countries, especially to understand their accents and language, but still keep their Thainess. At each adaptation stage, it takes the following time: 1-2 weeks during honeymoon or discovery and selfalignment stage, and 4 weeks for cultural learning. Most students do not have cultural adaptation problems. Only some students find difficulties in understanding host-country accents and vocabularies while some have bias against some host countries before their departure. 2.Communication Networks: Communication network, both Thai and foreign, play a highsupport role for exchange students. Most students communicate with Thai or have Thai network which plays an affective- support role, while for instrumental support, exchange students communicate mostly with their foreign classmates. Self-motivation, especially needs to learn new experience abroad, is found to be a personal factor facilitating exchange students~ cultural adaptation. Interpersonal communication skill of exchange students is at fair level in average, same as their positive or supporting characteristics and their English proficiency. It is also found that their supporting characteristics and their adaptability are related. Self-motivation, especially needs to learn new experience abroad, is found to be a personal factor, while their Thai communication network is found to be an interpersonal factor facilitating exchange students~ cultural adaptation. 3. Adaptation guidelines: The following guidelines are found to help exchange students~ cultural adaptation: understand host countries~ culture , eager to learn their language, communicate more frequently with local people, and try to observe local people~s regular behaviors for the better adjustment.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15949
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.746
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.746
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atchawat_sa.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.