Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16231
Title: การศึกษาต้นทุนกิจกรรมการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกทางเรือของธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนส่ง
Other Titles: Activity-based costing in import and export cargo by sea of freight forwarder business
Authors: จันทร์รัตน์ อนุสรณ์พาณิชย์
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
เอมอร ใจเก่งกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.s@chula.ac.th
fcomajk@phoenix.acc.chula.ac.th
Subjects: การบัญชีต้นทุนกิจกรรม
การขนส่งสินค้า
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการคิดต้นทุนแบบเดิมในธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนส่ง ก่อให้เกิดการใช้ข้อมูลต้นทุนที่บิดเบือนโดยรับภาระต้นทุนทางอ้อมของบริษัทเข้าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในสถานการณ์การแข่งขันด้านราคาสูง การตั้งราคาขายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะได้ส่วนแบ่งทางการตลาด การรับข้อต่อรองราคา หรือการเสนอราคาแข่งกับคู่แข่ง เจ้าหน้าที่การตลาดควรรู้ข้อมูลต้นทุนที่แท้จริง ในวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาต้นทุนกิจกรรมในการให้บริการ โดยเก็บข้อมูลของบริษัทหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ให้สามารถตั้งราคาขายได้อย่างสมเหตุผลที่ทำให้กิจการอยู่ได้ โดยมีขอบเขตกลุ่มตัวอย่างท่าเรือต้นทางและปลายทางคือ ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือ Yokohama ลักษณะของการให้บริการลูกค้าทั่วไป ไม่มีกิจกรรมเฉพาะอย่าง และไม่รวมต้นทุนที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นที่ไม่มีการบันทึกบัญชีในบริษัทที่ประเทศไทย การศึกษาหาข้อมูลใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทางบัญชีข้อมูลค่าใช้จ่ายรายเดือนตั้งแต่ม.ค.-มิ.ย.2549 สัมภาษณ์กระบวนการในการทำงานจัดเป็นรหัสกิจกรรมแต่ละศูนย์กิจกรรม ปริมาณในการใช้ทรัพยากร และปริมาณของการขนส่งในช่วงเวลาที่กำหนด ผลของการศึกษาพบว่าต้นทุนกิจกรรมมากที่สุดคือเงินเดือนพนักงานเป็น 38% ของต้นทุนกิจกรรมทั้งหมด กิจกรรมที่มีต้นทุนสูง งานด้านขาเข้าคือกิจกรรมการทำบัญชีเรือเข้า และงานด้านขาออกคือ กิจกรรมการทำ B/L ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาทำงานมาก เกิดค่าล่วงเวลา ในการควบคุมต้นทุนจึงต้องปรับลดขั้นตอนในการทำเอกสารให้มีขั้นตอนน้อยลง และพบว่ากิจกรรมการทำ B/L ของขาออกควรลดต้นทุนค่าสิ่งพิมพ์ของCopy B/L ซึ่งทำให้ต้นทุนสิ่งพิมพ์ของการทำ B/L สูง และจากการเปรียบเทียบต้นทุนรวมของการขนส่ง ต้นทุนการทำพิธีการศุลกากรของการขนส่งแบบ Door to Door สูงมาก เนื่องจากต้นทุนจากบริษัทผู้รับดำเนินการมีราคาสูง จึงควรหาทางปรับลดลง
Other Abstract: Traditional cost accounting system in freight forwarder business still result distorted cost information. Insufficient allocations of overhead costs are found by absorbing indirect cost to general and administration cost. In competitive market situation, pricing is the main factor to get market share. Activity based costing is the effective tools to make clear image of costing system for marketing to offer competitive price to customer and profitability to company is the objective in this thesis. The operation data in field of study were collected from January-June 2006 port of origin and/or discharged is Bangkok and/or Yokohama for the type of regular shipment. By interviewing to set up activity centers and its codes to allocated indirect costs to be activity costs which related to activities consume resources. From the study, salary cost is the highest cost 38 %. issuing import manifest and issuing B/L are each import and export highest activities consume this activity cost. The caused of highest consumption is complicated working process then, incurred the over time working cost. To improve the documentation process is the solution to less the working time usage. Moreover, issuing B/L activity is also consumes high of the printing cost especially Copy B/L cost per unit. Finally, to compare in total cost. The customs clearance cost is too higher and should be find out the solution to be reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16231
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.480
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.480
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JANTARAT.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.