Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16253
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลน้อย ตรีรัตน์-
dc.contributor.authorกุนทินี เมฆสุภะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-12-02T03:35:21Z-
dc.date.available2011-12-02T03:35:21Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16253-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางของไทย โดยใช้แนวคิดของสำนักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ ทั้งนี้การตั้งงบกลางในระบบงบประมาณของประเทศไทยก็เพื่อให้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลที่สามารถใช้ได้สำหรับกรณีฉุกเฉิน จำเป็น ที่ไม่ได้มีการ ตั้งงบประมาณปกติเอาไว้ โดยที่งบประมาณรายจ่ายงบกลางเป็นงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นจำนวนหนึ่งในแต่ละปี ลักษณะในการอนุมัติและการจัดสรรจะมีความแตกต่างจากงบประมาณรายจ่ายประจำ โดยฝ่ายนิติบัญญัติจะอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลางทั้งจำนวน โดยไม่มีการระบุโครงการและรายละเอียดในการนำไปใช้ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2517-2544 นั้น การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 9.86 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในขณะที่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2545-2549 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางมีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 18.49 ผลการศึกษาพบว่า งบประมาณรายจ่ายงบกลางถูกจัดสรรเพื่อนำไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น ความเข้มแข็งของพรรคการเมืองและผู้นำ ลักษณะสภาพแวดล้อมทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นต้น ซึ่งการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ทั้งในเชิงขนาดของงบกลางที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป จากการใช้เพื่อเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นการใช้งบกลางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองเป็นสำคัญen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to analyze the central fund’s budget allocation in Thailand employing of the Public Choice Theory. Generally, the central fund’s budget was used for necessary emergency cases which the government did not estimate in the normal annual budget. The Central fund’s budget was set up as a portion in annual budget. The approval and allocation of this budget were different from the normal annual budget because the legislation body would approve the total amount of this budget without any indication of projects or details of implementation. During the fiscal year of 1974-2001, the average proportion of the central fund’s budget to the total annual budget was 9.86% but during the fiscal year of 2002-2006 the figure was raised up to 18.49%. The study found that the central fund’s budget had been differently spent depending on related factors such as the power of political parties and leader, socio-economic and political factors. The most critical change in size and objective of this budget was in PM Thaksin’s period. This central fund’s budget was not used for emergency cases anymore but it was used as a tool for political achievement.en
dc.format.extent3293765 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.449-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectงบประมาณen
dc.subjectงบประมาณ -- การวิเคราะห์en
dc.subjectรายจ่ายของรัฐen
dc.titleการวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางของไทยen
dc.title.alternativeAn analysis of the central fund's budget allocation in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.authorNualnoi.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.449-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kuntinee.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.