Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/164
Title: พฤติกรรมตลาดรถกระบะในประเทศไทย
Other Titles: Market behavior of pick-up trucks in Thailand
Authors: ทิสวรรณ ชูปัญญา, 2524-
Advisors: ชลัยพร อมรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chalaiporn.A@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมรถกระบะ--ไทย
รถกระบะ--การตลาด
รถกระบะ--อุปทานและอุปสงค
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตลาดรถกระบะในประเทศไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่ามากและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีจำนวนน้อย จึงทำให้มีการแข่งขันกันสูง ดังนั้น ในงานศึกษานี้จะทำการศึกษาพฤติกรรมด้านราคาและไม่ใช่ราคาของผู้ประกอบการในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของอุปสงค์ของผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณจำหน่ายรถกระบะในประเทศไทย โดยวิเคราะห์เชิงพรรณนาประกอบสถิติอย่างง่าย และใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติสำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณจำหน่ายรถกระบะในประเทศไทย โดยทำการศึกษาภาพรวมทั้งประเทศและเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบจำลอง Panel Data ข้อมูลรายเดือน ปี 2544 2547 (ม.ค.-ส.ค.) โดยใช้วิธีการประมาณสมการ Pooled Least Square ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมตลาดรถกระบะในประเทศไทย พบว่าบริษัทรถกระบะในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมใช้พฤติกรรมด้านไม่ใช่ราคามากกว่าพฤติกรรมด้านราคา โดยมักใช้กลยุทธ์การพัฒนาให้สินค้าของตนมีความหลากหลายและแตกต่างจากคู่แข่ง การส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อโฆษณา รวมทั้งการปรับปรุงและเพิ่มจำนวนโชว์รูมและศูนย์บริการหลังการจำหน่าย ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณจำหน่ายรถกระบะในประเทศไทย พบว่าปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านไม่ใช่ราคา ได้แก่ การโฆษณา และโชว์รูมและศูนย์บริการหลังการจำหน่าย มีผลต่อปริมาณจำหน่ายทั้งประเทศและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเครื่องหมายเป็นไปตามสมมติฐานและทฤษฎี โดยมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา และโชว์รูมและศูนย์บริการหลังการจำหน่าย ของสมการทั้งประเทศเท่ากับ -7.39 0.46 และ 1.47 ตามลำดับ นอกจากนี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ ประชาชาติ มีผลต่อปริมาณจำหน่ายรถกระบะในภาพรวมทั้งประเทศและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเครื่องหมายเป็นไปตามสมมติฐาน สำหรับปัจจัยราคาสินค้าเกษตรและอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ พบว่ามีผลต่อปริมาณจำหน่ายรถกระบะในทิศทางเดียวกัน เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The Thai pick-up trucks market has contributed to high growth in the automobile industry in Thailand, but there have been a few entrepreneurs in the industry ; the competition in this industry recorded the high level. This research project aims to study the market behavior in terms of price; no-price for entrepreneurs in changing demand condition of consumers, and factors affecting a sale quantity of pick-up trucks in Thailand. The simple statistical analysis and the econometrics model are used to conduct the project. We studied across country, in particular the northeast with the Panel Data Model analyse the montly data from 2001-2004 by the method of Pooled Least Square. The study of the Thai pick-up trucks disclosed that most Thai pick-up trucks entrepreneurs use non-price behavior more than the other which this strategy develop their products more varied and differentiated than their competitors. Apart from a variety of the products, the non-price strategy also include sale promotion, especially the use of media advertisement as well as refurnishment and an increase in a number of showrooms and after sale service centres. Moreover, the study pointed out that price factor, non-price factors including advertisement and showrooms and after sale service centres had significant impact on the sale quantity across the country and the northeast. They are in according with the hypothesis and theory. The value of elasticity of damand on sale price, advertising expenditures and showrooms and after sale service centres over the country is equal to -4.39, 0.46 and 1.47 respectively. Furthermore economic factors such as national income cause an affect on the sale quantity of trucks in the country and targeted area. However, price in argriculture product and interest rate have an impact on the sale quantity only in the northeast.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/164
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.496
ISBN: 9745321494
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.496
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitsawan.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.