Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16437
Title: | สถานะทางกฎหมายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) |
Other Titles: | The legal status of user interface |
Authors: | วรพนธ์ ด่านวิวัฒน์ |
Advisors: | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Eathipol.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองซอฟต์แวร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ลิขสิทธิ์ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงสถานะทางกฎหมายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ปัญหาการบังคับใช้ และแนวทางที่เหมาะสมในการให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าสถานะทางกฎหมายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่อาจนำพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาปรับใช้เพื่อให้ความคุ้มครององค์ประกอบในแต่ละส่วนได้ โดยจะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการและกฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบ อย่างไรก็ดี การให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์อาจก่อให้เกิดปัญหาในการพิจารณาว่าองค์ประกอบในส่วนใดที่ควรได้รับความคุ้มครองและส่วนใดที่ไม่ควรได้รับความคุ้มครองในคดีละเมิดได้ เนื่องจากการสร้างสรรค์งานดังกล่าวจะมีข้อจำกัดทางเทคนิคและทางธุรกิจในการแสดงออกซึ่งความคิด ซึ่งอาจทำให้งานดังกล่าวมีความเหมือนคล้ายกันได้ แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนดรายละเอียดในส่วนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้โครงสร้างของกฎหมายไม่เอื้ออำนวยที่จะกระทำเช่นนั้นได้ ประกอบกับยังไม่มีคดีดังกล่าวขึ้นสู่ศาลไทย จึงทำให้ยังไม่มีแนวทางในการพิจารณาคดีในส่วนนี้ ดังนั้นจึงควรแก้ปัญหาดังกล่าวโดยจัดทำแนวทางพิจารณา (Guideline) เกี่ยวกับขอบเขตองค์ประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ว่า ส่วนใดที่ควรได้รับความคุ้มครองและส่วนใดที่ไม่ควรได้รับความคุ้มครอง เพื่อแก้ปัญหาในการตีความและสามารถใช้ประกอบในการพิจารณาคดีละเมิดให้เกิดความชัดเจนขึ้น เนื่องจากจะสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยง่ายเมื่อเทคโนโลยีในงานดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไป |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the legal status of user interface, problems on legal enforcement and appropriate protection of user interface under Thai laws. The research reveals that the legal status of user interface in Thailand is uncertain. However, each factor of user interface may be possibly protected under Copyright Act B.E. 2537 but it cannot be protected under Patent Act B.E. 2522, Trademark Act B.E. 2535, as well as Trade dress and Design laws. Anyhow, legal protection under Copyright Act B.E. 2537 may cause problems; to be considered on copyright infringement cases, about which factors of user interface should be protected or should not be protected due to technical and business necessity that cause similar character on most user interface and problem about expression of idea. High technology development also causes the problems that copyright law cannot specify the details of user interface, together with there is not any user interface cases on Thai judiciary system at present-day. Therefore, there should be a guideline about the protected and unprotected factors of user interface to make it clearer and to help in consideration of infringement case because guideline can be adapted easily when there is some technology change in the near future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16437 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.198 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.198 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Worapon_Da.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.