Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16522
Title: ผลของจำนวนแผ่นกั้นและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่มีต่อการบำบัดน้ำเสียโรงงานยางข้นโดยระบบเอบีอาร์
Other Titles: Effects of baffle number and organic loading rate on concentrated latex wastewater treatment using anaerobic baffled reactor system
Authors: นิรมล กรีอารีย์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
ยางพารา
อุตสาหกรรมยางพารา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานยางข้นมีการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ มากมาย เช่น ซัลเฟตที่เกิดจากการเติมกรดซัลฟิวริกในกระบวนการผลิต เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้น้ำเสียที่เกิดขึ้นมีความเป็นกรดสูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมลพิษทางน้ำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงจำนวนแผ่นกั้นหรือจำนวนห้องในถังปฏิกรณ์ และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่มีต่อการบำบัดน้ำเสียโรงงานยางข้น โดยใช้ระบบเอบีอาร์ ในงานวิจัยใช้ถังปฏิกรณ์ที่มีจำนวนแผ่นกั้นต่างกันดังนี้ 3, 5 และ 7 แผ่นกั้น มีปริมาตรการใช้งาน 14 ลิตร กำหนดระยะเวลากักพักชลศาสตร์ (HRT) คงที่เท่ากับ 5 วัน และใช้อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 1, 2 และ 3 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตร-วัน จากผลการทดลองพบว่า ระบบเอบีอาร์ 7 แผ่นกั้น มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุดทุกพารามิเตอร์ โดยที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 1 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตร-วัน ระบบเอบีอาร์ 3, 5 และ 7 แผ่นกั้น มีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยคือ 89.92%, 92.77% และ 93.84% ประสิทธิภาพในการบำบัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 79.40%, 82.32% และ 85.99% ประสิทธิภาพการบำบัดซัลเฟตใกล้เคียงกันคือ 97.71%, 97.42% และ 98.30% (ตามลำดับ) เมื่อเพิ่มอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 2 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตร-วัน ระบบเอบีอาร์ 3, 5 และ 7 แผ่นกั้นประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 85.31%, 86.93% และ 89.07% ประสิทธิภาพในการบำบัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 85.66%, 87.71% และ 90.12% สามารถลดซัลเฟตได้ถึง 98.78%, 98.57% และ 99.25% (ตามลำดับ) และเมื่อเพิ่มอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 3 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตร-วัน ระบบเอบีอาร์ 3, 5 และ 7 แผ่นกั้น มีประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง ดังนี้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยคือ 74.14%, 78.40% และ 80.36% ประสิทธิภาพในการบำบัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 86.05%, 82.29% และ 87.18% สามารถลดซัลเฟตได้ 98.19%, 98.42% และ 99.50% (ตามลำดับ) จากผลการทดลองจำนวนแผ่นกั้นมีผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีและของแข็งแขวนลอย โดยที่ระบบเอบีอาร์ 7 แผ่นกั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดและเมื่อเพิ่มอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง
Other Abstract: The concentrated latex wastewater contains various chemicals such as sulfate which is resulted from large amount of sulfuric acid used in production process to catch latex. So this process make negative effect on the environment, especially water pollution to natural water resources. The objective of this study was to investigate the performance of anaerobic baffled reactor (ABR) in treating concentrated latex wastewater by varying baffle number or compartments in reactors and organic loading rates (OLR). ABR reactors consisting of 3, 5 and 7 baffles with the same total working volume of 14 L were used in this study. Each ABR was operated at HRT 5 days with OLR 1, 2 and 3 kgCOD / cb.m -day. From the results, it was found that the reactor with 7 baffles had the highest removal efficiencies for all parameters. At OLR 1 kgCOD / cb.m -day. ABRs with 3, 5 and 7 baffles had average COD removal performance were 89.92%, 92.77% and 93.84% respectively. Suspended solid removal performance were 79.40%, 82.32% and 85.99% respectively, ABRs almost completely removed sulfate from wastewater as removal percentages at 97.71%, 97.42% and 98.30%, respectively. When OLR was increased to 2 kgCOD / cb.m -day. ABRs with 3, 5 and 7 baffles had average COD removal at 85.31%, 86.93% and 89.07%, respectively; average suspended solid removal at 85.66%, 87.71% and 90.12%, respectively; average sulfate removal at 98.19%, 98.42% and 99.50%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16522
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1096
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1096
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
niramon_kr.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.