Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16683
Title: กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5)
Other Titles: Public relations strategies and images of Royal Thai Army Radio and Television (Channel 5)
Authors: ณชญาดา จันทร์งาม
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
การประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์องค์การ
การรับรู้
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษานโยบายและกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ที่เชี่ยวชาญในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ส่วนที่สอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ จากการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประมวลผลข้อมูลโดยการใช้โปรแกรม SPSS และ Microsoft Excel ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการประชาสัมพันธ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) คือ การมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานให้มีคุณภาพและมีคุณประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด มีจุดยืนหลักในการเน้นมอบคุณค่าให้แก่สาธารณชนโดยไม่แสวงหากำไรเป็นหลัก ซึ่งเน้นนโยบาย 4 ด้านคือ (1) รณรงค์ส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ (2) ต่อต้านยาเสพติด (3) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ (4) ให้การช่วยเหลือประชาชน กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์คือ 1) Strategy of partner เป็นการทำประชาสัมพันธ์แบบองค์กรพันธมิตร เป็นการดึงองค์กรที่มีศักยภาพมาร่วมงานกัน เพื่อให้กิจกรรมน่าเชื่อถือและดึงดูดประชาชนให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น 2) กลยุทธ์การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เน้นเรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยเหลือสังคม 3) กลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เว็บไซด์ เป็นต้น 2. ผลการวิจัยในส่วนของภาพลักษณ์โดยภาพรวมของช่อง 5 เป็นเชิงบวก เป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากประชาชนในฐานะสื่อมวลชนทางสังคม มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของประชาชน มีจุดเด่นด้านสังคมและด้านกิจกรรมเพื่อสังคมมากที่สุดองค์กรหนึ่ง
Other Abstract: To study the polices, public relations strategies and images of the Thai Army Radio and Television channel 5. The research was divided into two parts. The first part was qualitative research which document study and in-depth interview were used to collect the data. The second part was quantitative research which questionnaires were used to collect the data from 400 samples of the people in Bangkok metropolitan area. SPSS progrom was used for data processing. The results of this research were as follows: 1. The results of this research were as follows that the public relation policy of channel 5 was Strong determination to create highest-quality and value works for society with major standpoint, not mainly making profit, as providing worthiness to the public emphasizing on four policy facets 1) Royal family sustaining campaign 2) Anti narcotic 3) Environment preservation and 4) Human aid. Public relation strategies were 1) Strategy of Partner which was a kind of public relation done by allied organization coorperation to make concerned activities reliable and more attractive for people 2) Strategy of Activitiy which provided social work activities focusing on social responsibility and aid 3) Strategy of Media which refered to the medias used for public relation such as television, radio, newspaper, and websites. 2. The results showed that the overall image of the television channel 5 was positive. It was also renowned and accepted as mass media for society. Its image was good from people’s point of views. In addition, it was one of the most prominent organizations in social works and activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16683
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2177
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2177
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nachayada_ch.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.