Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันติ ไกรกาญจน์-
dc.contributor.authorมีนา เหล่าหะเกียรติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-05T07:42:14Z-
dc.date.available2012-02-05T07:42:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16713-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจจัดการพลาสติกเหลือใช้ เพื่อวิเคราะห์ถึงข้อจำกัดที่สร้างอุปสรรคต่อการประกอบการ ตลอดจนค้นหามาตรการทางกฎหมายที่ส่งเสริม การนำพลาสติกเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ และนำเสนอแนวคิดทางกฎหมายเพื่อลดข้อจำกัดของ การประกอบการและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จากการศึกษาพบว่า กฎหมายของไทยยังไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้องแสดงข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นต่อกระบวนการคัดแยก ในขณะที่ระเบียบของสภายุโรปว่าด้วยบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ และกฎหมายส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพของประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ต้องมีการระบุสัญลักษณ์แสดงประเภทและชนิด เพื่อให้สะดวกต่อการรวบรวม การคัดแยก และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนประเทศสวีเดนได้นำเรื่องระบบมัดจำคืนเงินมาใช้กับขวดพลาสติกและกระป๋องโลหะ เพื่อส่งเสริมกระบวนการรวบรวมและคัดแยกประเภท นอกจากนี้แล้ว กฎหมายของไทยมิได้กำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ แต่ระเบียบของสภายุโรปว่าด้วยบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ ระเบียบของสภายุโรปว่าด้วยซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดให้ผู้ผลิตต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ และยังได้กำหนดให้ผู้ผลิตต้องนำวัสดุที่ได้จากซากผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการคัดแยกและนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วย จากการวิจัยนี้ขอเสนอแนะการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในระยะสั้นคือ แก้กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยให้ลดหรือยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยหากเป็นพลาสติกเหลือใช้ กำหนดวิธีการคัดแยกประเภทพลาสติกเหลือใช้ไม่ให้ปนกัน โดยออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3) และกำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทุกรายต้องให้ข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็น ต่อกระบวนการคัดแยกพลาสติกเหลือใช้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 17 สำหรับระยะยาวควรมีกฎหมายส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก โดยมีบทบัญญัติให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกนั้น สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการคืนเงินมัดจำสำหรับผู้บริโภคเมื่อนำพลาสติกเหลือใช้มาคืน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเก็บรวบรวมพลาสติกเหลือใช้ และให้มีกฎหมายลดหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจจัดการพลาสติกเหลือใช้ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยส่วนรวมen
dc.description.abstractalternativeTo study of the regulations related to plastic waste management businesses for finding the limitations of businesses, searching law measurement to promote the use of plastic waste and presenting ideas to improve law for reducing the limitations of businesses and solving environmental problems. The study shows that Thailand, there are no regulations related in giving essential information for sorting processes and designing recycling products. While, Directive on Packaging and Packaging Waste in EU, and The Law for Promotion of Effective Utilization of Resources in Japan stipulate that all packaging producers must show symbols of raw materials in order to collect, sort and recycle easily. In Sweden, there are deposite-refund concept in plastic bottles and metal cans to support collecting and sorting processes. Directive on Waste Electrical and Electronic Equipment and Directive on Packaging and Packaging Waste stipulate the producer’s responsibility to design recyclability products and to utilize recycling raw material in products in order to promote sorting and recycling processes. In short-term, this study suggests guidelines to amend Public Health Act, B.E. 2535 by reducing or exempting service charges for plastic waste collection, and to order regulations of local governments according to the Article 20 (3) in Public Health Act, B.E. 2535 to specify methods of sorting plastic waste, and to enact Royal Decrees according to the Article 17 of Industrial Product Standards Act, B.E.2511 of which stipulate product standards in respect that all producers must give essential information in sorting processes. In long-term, it enacts Promotion of Effective Utilization of Plastics Law of which stipulating that all plastic products can recycle, and enacts Deposite-Refund Law of which refunding for plastic waste return in order to promote plastic waste collecting, and enacts Law to reduce or immune Value Added Tax (VAT) for plastic waste management businesses for conservation of environments and communities.en
dc.format.extent2382101 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1515-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectขยะพลาสติก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectขยะพลาสติก -- การนำกลับมาใช้ใหม่en
dc.subjectขยะพลาสติก -- แง่สิ่งแวดล้อมen
dc.titleข้อจำกัดด้านกฎหมายต่อการประกอบธุรกิจจัดการพลาสติกเหลือใช้en
dc.title.alternativeLegal limitations in plastic waste management businessesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChayanti.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1515-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
meena_la.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.